ความศรัทธาในพระพุทธชินราช(ตอนที่1)

544358_505542226147857_209227513_n_2IMG_3945IMG_3857พระมหาธรรมราชาที่1 พญาลิไท  ราชวงศ์พระร่วงกรุงสุโขทัย  ได้โปรดให้ช่างฝีมือดีจากกรุงศรีสัชนาลัย  ได้แก่ บาอินทร์ บาพราหมณ์ บาพิษณุ บาราชสิงห์ และบาราชกุศล สมทบกับช่างจากสวรรคโลก ช่างเชียงแสงและช่างหริภุญไชย ช่วยกันสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ทั้ง 3 องค์   จวบจนวันพฤหัสบดี ขึ้น 15ค่ำเดือน 4 ปีวอกจุลศักราช 717 หรือปีพุทธศักราช 1898 ได้มงคลฤกษ์กระทำพิธีเททองหล่อพระพุทธรูป  เมื่อเททองเสร็จแล้วทำการแกะพิมพ์ออก ปรากฏว่า พระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดา องค์พระบริบูรณ์ น้ำทองแล่นติดตลอดเสมอกันสวยงาม ส่วนพระพุทธชินราชทองแล่นติดไม่เต็ม องค์พระไม่บริบูรณ์ เป็นที่อัศจรรย์ของช่างและผู้ร่วมพิธีเป็นอย่างยิ่งIMG_3980

พระมหาธรรมราชาที่1ทรงให้ช่วยปั้นหุ่นและทำการเททองหล่ออีก หล่ออย่างไรก็หล่อไม่สำเร็จ ทองแล่นไม่เต็มองค์ จึงทรง อัฐิฐานต่อทวยเทพดาจงช่วยดลให้สร้างพระพุทธชินราช สำเร็จตามพระประสงค์ ทรวยราชพร้อมใจกันรักษาศีลอย่างเคร่งครัดIMG_3964

ในการปั้นหุ่นพระครั้งนี้ มีผู้เฒ่านุ่งขาวห่มขาว มาช่วยในพิธี ไม่มีผู้ใดทราบว่าชื่อใด ทำการงานอย่างเข้มแข็งทั้งวันทั้งคืน จนสำเร็จ

IMG_3930ครั้นมงคลฤกษ์ ขึ้นแปดค่ำเดือนหก ปีมะเส็งจุลศักราช  719 หรือพุทธศักราช 1900 นับเวลาห่างจากครั้งแรก 2ปีพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฏก(อีกพระนามหนึ่งของพระมหาธรรมราชาที่1ลิไท)ทรงปิติโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง ทรงสั่งให้หาผู้เฒ่านุ่งขาวหรือ

”ตาปะขาว”ผู้ที่มาช่วยในพิธี แต่ไม่พบ ปรากฏว่าเมือหล่อเสร็จตาปะขาวได้เดินทางไปทางทิศเหนือ ยังหมู่บ้านหนึ่งก็หายไป ชาวบ้านเชื่อว่า เป็นเทพเทวดาที่ลงมาช่วย จึงเรียกบ้านนั้นว่า “บ้านตาปะขาวหาย ” บริเวณที่ตาปะขาวหายกล่าวว่ามีชาวบ้านเห็น ท้องฟ้าเปิดเป็นช่อง  ผู้เฒ่าลอยขึ้นไป จึงสร้างศาลาและเรียกว่า”ศาลาช่องฟ้า”ไว้กราบไหว้และมีบ่อน้ำใสสะอาดที่ชาวบ้านใช้ดื่มกินและคงเห็นกันมาตราบเท่าทุกวันนี้IMG_4038

บริเวณ800เมตรไม่ไกลกันมีวัดเก่าแก่มีซากโบสถ์เก่า ถูกน้ำเซาะลงแม่น้ำน่านไปแล้ว มีชื่อหนึ่งว่า “วัดเตาไห”เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านที่ผลิตหม้อและไห ภาชนะใช้สอย และเหนือขึ้นจากหมู่บ้านเตาไหไปมี หมู่บ้านหนึ่งเรียกว่า “บ้านหม้อ”เชื่อว่าปั้นหม้อปั้นไห ส่งมาเผาที่หมู่บ้านเตาไห  ภายหลังมีการสำรวจร่วมกับชาวออสเตเลียน พบเป็นแหล่งเตาเผารุ่นเก่าที่พบกว่า40เตา เรียงกันเป็นแถวยาว บางเตามีลักษณะซ้อนกันแสดงให้เห็นการเคลื่อนตัวของผิวโลกต้องใช้เวลาหลายยาวนาน  และตรวจสอบจากอิฐและภาชนะ พบมีความเก่า ก่อนรุ่นชะเลียงของสุโขทัย ถือว่าบริเวณนี้เป็นแหล่งอารยะธรรมความเจริญที่สำคัญIMG_4065

IMG_4019 ในอดีตมีผู้พบพระประธานในแม่น้ำได้ชะลอมาเป็นพระประธานในอุโบสถ์ปัจจุบัน ภายหลังยังพบพระทองคำตั้งแต่3นิ้วถึง5นิ้วจำนวน20กว่าองค์ที่ไหลออกมาจากริมแม่น้ำ จึงตังชื่อ “วัดตาปะขาวหาย” ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

เพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ในศรัทธา ท่านเจ้าอาวาสพระครูบุญจันทร์ฯและพระบุญทิว บูรณะเขตต์อดีตช่างฝีมือในอดีต(บิดาลุงจ่าทวีฯผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านและสืบสานงานฝีมือต่อจากบิดา)สร้างรูปปั้นด้วยปูนเป็นรูปแรกและภายหลังได้สร้างเป็นสัมฤทธิ์สร้างศาลในวัดเรียกว่า “ศาลาปู่เทพตาปะขาว” สร้างมณฑป พระพุทธบาตรที่ประดิษฐ์ฐานพระบาทสัมฤทธิ์ที่เก่าและมีความสวยงามIMG_3993

มีอุโบสถ์หันหน้าทิศตะวันออก  ภายในที่มีจิตรกรรมฝาผนังเรื่องทศชาติ,ผนังทางประตูออกมีจิตรกรรมเรื่องการหล่อพระพุทธชินราช ,มีวิหารประตูหน้าหลังมียักษ์ฝั่งละสองตนเฝ้าอยู่   ที่เหนือ ซุ้มประตูหน้าต่างมีปูนปั้นพระพุทธเจ้าและคาถาและพระพุทธรูปปางต่างๆและพระประจำวันเกิดโดยรอบหันหน้าไปทิศตะวันออก หน้าวิหารมีวิหารสกัด เปิดมีพระปางปฐมเทศนาและอัครสาวกIMG_3987

หอระฆัง,กลองและศาลาการเปรียงขนาดใหญ่มีภาพเขียนเวสสันดรชาดก ฯลฯ

บริเวณด้านหลังมีศาลากรรมฐานและต้านไม้มากมายมีความสงบ มีขนาดสัตว์เล็กมากมายตามธรรมชาติ เช่นกระรอก,กระแต,นกหลากหลายสายพันธุ์ฯลฯ  ยังมีศาลาเก่าและตันไทรแผ่กิ่งก้านสาขา มีต้นลาน ซึ่งในอดีตใช้ใบลานเขียนพระไตรฯหรือบันทึกต่างๆ  อีกมากมายสำหรับวัดตาปะขาววัดทีมีประวัติศาสตร์กล่าวเล่าเรืองราวของความยิ่งใหญ่ของกำเนิดพระพุทธชินราชพระคู่เมืองของเราIMG_4025

ขอขอบคุณข้อมูลจากวัดตาปะขาว

โปรดติดตามตอนที่2พระนเรศวรกับพระพุทธชินราชครบรอบ656ปี

กล้าณรงค์  ภักดิ์ประไพ

รถรางนำเที่ยวเมืองพิษณุโลก

28 เมษายน 2556

 

แสดงความคิดเห็น