พัฒนาคูคลองสายเลือดหล่อเลี้ยงการเพาะปลูกในเขตจัดรูปที่ดิน

0007ชุนชน ภาครัฐ ร่วมพัฒนาคูคลองสายเลือดหล่อเลี้ยงการเพาะปลูกนำร่อง โครงการพัฒนาการเกษตรยั่งยืนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในเขตโครงการจัดรูปที่ดิน กระจายน้ำจากเขื่อนแควน้อยบำรุงแดนให้ถึงแปลงนาเกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดผลผลิตทางการเกษตรสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้อย่างมาก  ที่เขตจัดรูปแบบที่ดิน ต.ท่างาม อ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก0002

อาชีพเกษตรกรรม “น้ำ” ถือเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งในการเพาะปลูก เพื่อให้ได้ผลผลิตออกมาจำหน่ายแลกกับเงินที่นำมาดำรงชีวิตประจำวันของชาวนาน้ำ ของอาชีพเกษตร สามารถเปรียบได้กับ เลือดของคนเราคอยหล่อเลี้ยงร่างกายให้เจริญเติบโต “น้ำ” ก็เช่นเดียวกัน มีความสำคัญ เพราะหากไม่มีน้ำคงไม่มีการเกษตร

0005จากการที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ พระราชทานพระราชดำริให้พิจารณาความเหมาะสมในการดำเนินการก่อสร้างโครงการเขื่อนแควน้อยบำรุงแดนโดยใช้พื้นที่ หมู่ที่ 4 บ้านเขาหินลาด  ต.คันโช้ง  อ.วัดโบสถ์  จ.พิษณุโลกในการสร้างเขื่อน  ในครั้งนี้ใช้ระยะเวลาการก่อสร้างรวม 9 ปี สามารถกักเก็บน้ำได้ 769 ล้าน ลบ.ม. โดยในวันที่เริ่มกักเก็บน้ำ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเริ่มการเก็บกักน้ำในวันที่ 26 พฤศจิกายน  2551 ทั้งนี้เขื่อนแควน้อยบำรุงแดนกักเก็บน้ำ เพื่อใช้สำหรับคอยช่วยเหลือประชาชน ทั้งในด้าน การเกษตร และด้านการอุปโภค-บริโภค

0011

ต.ท่างาม อ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มด้านล่างเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน ได้รับระบบคลองส่งน้ำสายใหญ่ผ่านเข้ามาภายในพื้นที่ ต.ท่างาม ก่อนที่จะแยกเป็นสายซอยออกไปตามหมู่ต่างๆ เพื่อให้เกษตรกรได้รับผลประโยชน์จากคลองส่งน้ำดังกล่าวได้อย่างทั่วถึง และ เป็นพื้นที่นำร่อง 1 ใน 4  จังหวัดของประเทศไทย  ที่ดำเนินการอนุรักษ์พื้นที่เกษตร ทำการเกษตรระดับต้นๆ เพื่อให้อาชีพเกษตรกรรมเกิดผลประโยชน์  มีประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ

0001

โดย “โครงการพัฒนาการเกษตรยั่งยืนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ในเขตโครงการจัดรูปที่ดิน” เป็นโครงการที่ใช้กระบวนการพัฒนามุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในเขตพื้นที่จัดรูปแบบที่ดิน เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาด้านการเกษตรแบบครบวงจร ในพื้นที่ซึ่งได้จัดรูปที่ดินที่ได้รับการแก้ไขปัญหาในเรื่องการกระจายน้ำ และถนนในการขนส่งพืชผลทางการเกษตรให้เป็นที่เรียบร้อยแล้วเสร็จเป็นรูปธรรม โครงการดังกล่าวยังได้นำมาซึ่งการพัฒนาท้องถิ่นอย่างมีส่วนร่วม โดยการเปิดโอกาสให้ประชาชนและชาวเกษตรกรในเขตพื้นที่จัดรูปแบบที่ดินได้เข้ามากำหนดเป้าหมายของโครงการและแผนยุทธศาสตร์พัฒนาชุมชนด้วยตนเอง

0005

โดยที่เป้าหมายของโครงการจัดรูปแบบที่ดิน ต.ท่างาม อ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก ที่ได้กำหนดขึ้นโดยชุมชน นั่นก็คือ “พัฒนาพื้นที่จัดรูปแบบที่ดินให้มีประสิทธิภาพนำไปสู่ความสุขของชุมชนท่างาม” โดยการที่ชุมชนได้เข้าร่วมกันวางแผนยุทธศาสตร์พัฒนาชุมชนทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาศักยภาพของคณะทำงานและแกนนำ ,การเพิ่มพูนความรู้เรื่องเกษตรยั่งยืนและส่งเสริมด้านศักยภาพเรื่องของเศรษฐกิจชุมชน ,การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ,การบริหารจัดการใช้น้ำอย่างมีส่วนร่วม และการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ

0012

และหลังจากที่ประชาชนในชุมชน รวมไปถึงผู้ประกอบอาชีพทางการเกษตร ได้ร่วมแรงร่วมใจในการทำกิจกรรมทำความสะอาดคูคลอง จากที่ปล่อยให้คลองส่งน้ำสายใหญ่ และคูส่งน้ำสายย่อย  มีวัชพืชขึ้นปกคลุมคูคลอง อีกทั้งยังมีตะกอนของดินที่ทับถมกันสูง ทำให้การรับน้ำจากเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน เป็นไปได้ลำบาก และไม่มีประสิทธิภาพมากเพียงพอที่น้ำจะไหลผ่านไปทั่วถึงทุกพื้นที่

0008

นายชัยกร โชควรภัก นายอำเภอวัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก  กล่าวว่า  จากการที่ทางกรมชลประทานได้มีมติของ ครม. ว่าให้งดการจ่ายน้ำตั้งแต่เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม  ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นโอกาสดีที่สมาชิกในชุมชนจะได้เข้ามามีส่วนร่วมในการทำความสะอาดคูคลองตามแผนยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประชาสัมพันธ์ให้สมาชิกในชุมชนได้มีส่วนร่วมในการดูแลชุมชนของตนเอง อันประกอบด้วย บ้าน วัด และพื้นที่จัดรูปที่ดินที่เป็นพื้นที่ทำกินอันจะนำไปสู่ความรักและหวงแหนสิ่งที่เป็นสาธารณประโยชน์ของชุมชนร่วมกัน รวมไปถึงเป็นการร่วมกันทำความดีเพื่อถวายแด่องค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่พระองค์ทรงพระราชทานพระราชดำริให้ดำเนินการก่อสร้างโครงการเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน ขึ้นเพื่อบรรเทาความเดือดร้องของปวงประชาของพระองค์

0006

ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ตำบลท่างาม อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก พื้นที่นำร่องแห่งแรกจากทั่วประเทศของ “โครงการพัฒนาการเกษตรยั่งยืนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ในเขตโครงการจัดรูปที่ดิน” ในครั้งนี้ซึ่งเป็นความร่วมมือของสมาชิกในชุมชนให้เกิดเห็นเป็นรูปธรรม เพื่อเป็นผลดีตามวัตถุประสงค์ของโครงการ และจะสามารถทำให้ประชาชนในชุมชนสามารถกลับมาใช้น้ำภายในคูคลองที่รับมาจากเขื่อนแควน้อยบำรุงแดนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพอีกครั้งหลั่งจากทางกรมชลประทานได้รับมติจาก คณะรัฐมนตรี ให้กลับมาปล่อยน้ำออกจากเขื่อนอีกครั้ง

0011

นาย ศิริวัฒน์ ฟักคง นายก อบต.ท่างาม กล่าวว่า “ทาง อบต.ท่างาม มีความยินดีและขอขอบคุณทางเจ้าหน้าที่ ที่ได้เข้ามาในพื้นที่การเกษตรยั่งยืน ได้จัดกลุ่มร่วมมือกับชาวบ้านทำกิจกรรมในครั้งนี้ และจากการเข้าประชุมทำให้เกษตรกรได้ข้อคิดต่างๆ ทำให้ทราบถึงวิธีการทำงานที่เป็นระบบเป็นระเบียบ และบางส่วนเจ้าหน้าที่ได้พาไปศึกษาดูงานที่อื่นข้างนอกบ้าง ทางเกษตรกรได้นำประสบการณ์ที่ได้กลับมาพัฒนาในพื้นที่ซึ่งทำให้พื้นที่นี้ดูเป็นรูปธรรมมากขึ้น ส่วนทางท้องถิ่นได้จัดงบประมาณในพื้นที่ ให้เกษตรกรได้เข้ามาร่วมทำงานในด้านนี้ ส่วนใหญ่เกษตรกรก็เห็นด้วย เนื่องจากก่อนหน้านี้ที่ผ่านมาการทำงานของเกษตรกรไม่เป็นระบบและระเบียบ หลังจากมีส่วนร่วมในครั้งนี้การทำงานก็ดูเป็นระเบียบมากขึ้น0015

 

เกี่ยวกับเรื่องระบบการจ่ายน้ำของโครงการเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน ในส่วนนี้เกิดจากน้ำพระทัยในหลวงที่มีต่อปวงประชา ชาวอำเภอวัดโบสถ์  ทราบซึ้งพระมหากรุณาธิคุณ  ราษฎรได้ผลพวงจากโครงการเขื่อนแควน้อย ร้อยดวงใจ ที่ทำให้พี่น้องในเขตของตำบลท่างาม ได้มีการพัฒนาการเกษตรที่ยั่งยืนได้ดีมากขึ้น และชาวบ้านก็มีส่วนร่วมในการเข้ามาพัฒนาดูแลคูคลอง ซึ่งหลายสิ่งหลายอย่างที่เข้ามาตรงนี้จะเป็นหน่วยงานเดียวทำไม่ได้ ตอนนี้ก็มีชาวบ้าน ทหาร ตำรวจ ได้เข้ามาพัฒนามีส่วนร่วมด้วย

0014

“โครงการของเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน ทำให้พวกเราได้มีส่วนที่ทุกคนได้มีน้ำใช้และและก็คือ ในพื้นที่นี้ได้รับความสะดวกขึ้นทำให้ชาวนาในตอนนี้มีรายได้เพิ่มมากขึ้นมากกว่าเดิม แต่อีกอย่างหนึ่งคือ เราจะเน้นในเรื่องของคุณภาพให้กับชาวไร่ชาวนา เกษตรบางรายพอเห็นว่ามีน้ำปุ๊บก็จะทำการเกษตรกันตลอดปี หรือต่อเนื่องมันก็ไม่ใช่แล้ว เราต้องเน้นในเรื่องคุณภาพในการทำ จากการที่ได้เรียนรู้จากวิทยากรที่เข้ามาชี้แจงให้ก็ทำให้เค้ามีความรู้เพิ่มขึ้นหลังจากนี้ ถึงจะเป็นตัวแทนเพียงแค่ไม่กี่สิบคน แต่เขาก็จะมีการกระจายความรู้ที่ได้รับให้กับเกษตรกรท่านอื่นต่อไป”นายก อบต.ท่างาม กล่าว

0004

ด้าน นายสมหวัง ปารสุขสาร ผอ.เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน ต.คันโช้ง อ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก   กล่าวว่า บริเวณที่มีการพัฒนาคูคลองส่งน้ำ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ฝั่งคือ ฝั่งซ้ายและขวา โดยจุดที่เราอยู่นี้เป็นพื้นที่ของฝั่งขวา มีพื้นที่อยู่  15,000 กว่าไร่ ส่วนฝั่งซ้ายมีเนื้อที่ทั้งหมด 390,000 กว่าไร่ ซึ่งระบบก็จะมีคลองส่งน้ำสายใหญ่ และคูส่งน้ำแยกไปจุดต่างๆ ในระบบส่งต่างๆ ส่วนในระบบระบายน้ำก็จะเป็นคลองดิน ซึ่งก่อนที่จะมีการส่งน้ำทุกครั้งเราจะมีการร่วมกันระหว่างทางกรมชลประทานของโครงการนี้กับชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่ว่า เราจะมีการทำความสะอาดคูคลองต่างๆ ขุดลอกตะกอน กำจัดวัชพืชต่างๆ เพื่อให้ทางเดินของน้ำสะดวกขึ้น โดยกรมชลประทานขอความร่วมกับเกษตรกรทั่วไปว่า ระบบต่างๆ เป็นสมบัติของชาวบ้าน เพราะฉะนั้นเราก็ควรดูแลรักษา  โครงการชลประทานเองมีหน้าที่จัดสรรน้ำให้กับเกษตรกร โดยเกษตรกรก็ต้องดูแลคูคลองของตัวเอง ตอนนี้ทางโครงการเหมือนเป็นพี่เลี้ยงจัดกลุ่มผู้ใช้น้ำเพื่อชาวเกษตรกรจะได้ยืนอยู่ด้วยตัวของเราเองได้ เพียงแต่ทางโครงการจะมีการแนะนำ กำกับเป็นพี่เลี้ยงต่างในการบริหารจัดการน้ำ

0013

ด้านนางจินดา กุลคง ส.อบต.ท่างาม หมู่ 1 ในฐานะคณะกรรมการโครงการพัฒนาการเกษตรยั่งยืนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในเขตโครงการจัดรูปที่ดิน กล่าวว่า โครงการจัดรูปที่ดินเริ่มมาหลายปีแล้ว ตั้งแต่เขื่อนแควน้อยบำรุงแดนเสร็จ  แต่ยังไม่ยั่งยืน เมื่อ 2-3 เดือนที่ผ่านมา ชาวบ้านจึงมีการตั้งคณะทำงานเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชาวบ้านในการใช้ประโยชน์จากน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนดูแลคูคลองภาพรวมของระบบส่งน้ำ ทำให้ทุกวันนี้ชาวบ้านมีน้ำเพียงพอสำหรับการปลูกผักสวนครัวส่งขายในท้องตลาดสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ

 

นางจรูญ ราชบรรจง  ชาวบ้านหมู่ที่ 2 ต.ท่างาม กล่าวว่า  หมู่ที่ 2 ต.ท่างาม อ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก ถือว่าเป็นหมู่บ้านที่โชคดีที่ได้รับเลือกเป็นต้นแบบในการจัดรูปที่ดินที่รัฐบาลออกเงินมาจัดการรูปที่ดิน มีระบบน้ำ มีถนนทางคมนาคมที่สะดวกทั่วพื้นที่แปลงนาหรือที่ทำกิน ของเกษตรกร ไม่ต้องหาเครื่องสูบน้ำต่อสายท่อยาวสูบน้ำจากแม่น้ำลำคลอง หรือ เจาะบ่อบาดาลเพื่อดึงน้ำขึ้นมาทำพื้นที่การเกษตร  แต่ทุกแปลงจะมีน้ำไหลมาถึงที่ดินทำกินให้ได้ใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่  วันนี้จึงนับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ซึ่งการทำงานคนใดคนหนึ่งคงทำได้สำเร็จยาก แต่ถ้าชาวบ้านสามัคคีร่วมมือกันทำทุกอย่างเห็นประโยชน์ส่วนร่วมเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องพร้อมใจกันงานทุกอย่างก็จะสำเร็จลุล่วงด้วยดี 0016

 

ขณะที่นายอาทิตย์  สุขแจ่ม  ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1 ต.ท่างาม กล่าวว่า    การขับเคลื่อนการพัฒนาการเกษตรแบบยังยืน  ชาวบ้าน ต.ท่างามเริ่มต้นด้วยการดูแลคนในครอบครัว  ดูแลวัดจุดศูนย์รวมจิตใจ และพื้นที่ทำกิน  ซึ่งเมื่อชาวบ้านมีความสามัคคีจะส่งผลดีในทุกๆด้าน ดั่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยพสกนิกร จึงมีโครงการพระราชดำริ จัดสร้างเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน เพื่อในอนาคตลูกหลานเกษตรกรทะยังคงอนุรักษ์อาชีพเกษตรกรรมให้คงอยู่อย่างยืนยาว

 

วันนี้ชาวบ้าน ต.ท่างาม อ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก ได้รับ “น้ำ”จากเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน ในพระราชดำริ และได้รับการพัฒนาระบบชลประทานในไร่นา (On-Farm Irrigation System Development) ประเภทงานจัดรูปที่ดิน (Land Consolidation)สามารถกระจายน้ำให้ถึงแปลงนาเกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดผลผลิตทางการเกษตรสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้อย่างมากมาย    0010

 

กรรณิการ์  สิงหะ /รายงาน ธีรยุทธ  นาคเอม/ภาพ  6 ธันวาคม 2557

แสดงความคิดเห็น