ทุกเช้าที่สวนชมน่าน..ร่ายรำไท่เก๊กฝึกสมาธิออกกำลังกาย

1984894827412วันที่ 20 ธันวาคม 2557 พิษณุโลกยังคงมีสภาพอากาศหนาวเย็นต่อเนื่อง อุณหภูมิต่ำสุดช่วงนี้อยู่ระหว่าง 18-20 องศาเซลเซียส ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในทุกเช้าที่บริเวณเวทีสวนชมน่าน  อ.เมือง จ.พิษณุโลก กลุ่มผู้สูงอายุหลายราย  มารวมตัวกันรำไท่เก๊ก เพื่อออกลังกาย  โดยเฉพาะช่วงที่มีอากาศหนาวเย็น  ก็จะเป็นการอบอุ่นร่างกายคลายหนาวได้  ทั้งนี้เนื่องจากผู้สูงอายุ  เป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะป่วยเป็นโรคต่าง ๆ ในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลงและหนาวเย็น1984894880316

1984895278302

ผู้สูงอายุรายหนึ่งเปิดเผยว่า ตนเองออกกำลังกายด้วยการรำไทเก๊กมากว่า 5 ปี  ยอมรับว่าเป็นการออกกำลังกายที่เหมาะสม  เพราะไม่ต้องใช้การออกแรงที่มากเกินไป  ท่วงท่าการรำ ทุกท่าเป็นไปอย่างช้า ๆ ได้ฝึกสมาธิ  กำหนดลมหายใจ   ทำให้หัวใจเต้นอย่างสม่ำเสมอ   แต่หลังจากออกกำลังกายเสร็จร่างกายก็จะอบอุ่นขึ้น มีเหงื่อออก   นับว่าเป็นการอบอุ่นร่างกาย คลายหนาวในช่วงอากาศหนาวเย็นได้เป็นอย่างดี การรำไท่เก๊ก  เป็นการออกกำลังกายที่ดี  เหมาะกับทุกเพศทุกวัย  ไม่เฉพาะกับผู้สูงอายุเท่านั้น  ซึ่งท่านใดที่สนใจ  ก็สามารถมาร่วมออกกำลังกาย ด้วยการรำไท่เก๊กที่บริเวณเวทีสวนชมน่านได้  โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ตั้งแต่เวลา 05.30- 07.30 น.1984895768716

ข้อมูลจากเว็ปไซด์วิกีพีเดีย สารานุกรมเสรีระบุว่า วิชามวยไท่เก๊ก หรือ ไท่เก๊กคุ้ง (จีนตัวย่อ: 太极拳; จีนตัวเต็ม: 太極拳; พินอิน: Tàijíquán) เรียกชื่อภาษาจีนแต้จิ๋วตามชาวไทยเชื้อสายจีน อ่านแบบจีนกลางว่า ไท่จี๋เฉวียน เขียนเป็นภาษาอังกฤษคือ Taijiquan หรือ Tai’chi Chuan แต่ในประเทศไทยเรียกกันหลายสำเนียงทั้ง ไท่เก๊ก ไทเก็ก ไท้เก๊ก ไท่จี๋ ไท้จี๋ ไทชิ ไทกิ๊บ

1984896030618

วิชามวยไท่เก๊กเป็นศิลปยุทธ์ที่มีชื่อเสียงในประเทศจีน เชื่อกันว่าปรมาจารย์ผู้ให้กำเนิดมวยไท่เก๊กคือนักพรตชื่อ จางซานฟง (เตียซำฮงในภาษาแต้จิ๋ว) ซึ่งมีชีวิตอย่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 12-14 แต่วิชานี้มามีชื่อเสียงเอาในสมัยราชวงศ์ชิง โดยท่านหยางลู่ฉานซึ่งเป็นผู้ให้กำเนิดมวยไท่เก๊กตระกูลหยาง และภายหลังได้แพร่ขยายขจรขจายไปทั่วโลก สำหรับในประเทศไทยอาจารย์ต่งอิงเจี๋ย (ตั่งเองเกี๊ยก) นำมวยไท่เก๊กมาเผยแพร่ในเมืองไทยเมื่อ พ.ศ. 2498 ต่อมาในปี พ.ศ. 2499 อาจารย์ต่งส่งบุตรชายของท่านคืออาจารย์ต่งหูหลิ่ง (ตั่งโหวเนี่ย) มาเป็นครูมวยไท่เก๊กคนแรกในประเทศไทย จึงกล่าวได้ว่ามวยไท่เก๊กในไทยนั้น สืบสายมาจากมวยไท่เก๊กตระกูลหยาง1984895384776

ในปัจจุบัน มวยไท่เก๊กที่แพร่หลายกันอยู่ทั่วไปมีอยู่มากมายหลายสาย หลายตระกูล ซึ่งสายมวยอันเป็นที่ยอมรับในปัจจุบันมีอยู่ 5 สายหลักคือ ไท่เก๊กตระกูลเฉิน, ตระกูลหยาง, ตระกูลอู่, ตระกูลอู๋ และตระกูลซุน ซึ่งภายหลังรัฐบาลจีนได้นำท่ามวยของทั้งห้าตระกูลมาเรียบเรียงขึ้นเพื่อใช้ในการแข่งขันลีลายุทธ์ด้วย นอกจากห้าตระกูลนี้แล้ว ภายหลังยังมีมวยไท่เก๊กตระกูลอื่นๆ ซึ่งแตกแยกย่อยไปจากห้าตระกูลนี้ รวมถึงยังปรากฏมวยไท่เก๊กประจำถิ่นอีกหลายๆ สายปรากฏออกมาอีกมากมาย หากไม่ว่าจะเป็นมวยไท่เก๊กสายใดตระกูลใด แม้ท่วงท่าจะแตกต่างกัน แต่ยังอิงเคล็ดความเดียวกัน และล้วนนับถือท่านจางซานฟงเป็นปรมาจารย์เช่นเดียวกัน

1984894734969

มวยไท่เก๊กมีลักษณะนุ่มนวล โอนอ่อน ผ่อนคลาย การเคลื่อนไหวลื่นไหลต่อเนื่อง การหายใจสอดประสานไปกับการเคลื่อนไหว พร้อมทั้งต้องตั้งจิตติดตามการเคลื่อนไหวของร่างกายไปตลอดทำให้เกิดสมาธิ เนื่องจากไม่มีการเกร็งกล้ามเนื้อ หรือการออกแรงกระแทก จึงมีโอกาสเกิดการบาดเจ็บร่างกายได้น้อยเมื่อเทียบกับกีฬาที่ใช้แรงชนิดอื่นๆ ทำให้เหมาะกับคนทุกเพศทุกวัย แม้แก่ชราอายุ 90-100 กว่าปีก็ยังฝึกฝนได้ ประโยชน์ที่ได้รับนอกจากจะช่วยให้สุขภาพแข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจแล้ว ยังสามารถใช้เป็นศิลปะป้องกันตัวได้หากได้รับการฝึกฝนเพื่อใช้ต่อสู้ ในปัจจุบันไท่เก๊กมีผู้นิยมฝึกฝนกันอย่างแพร่หลายทั่วโลกและเป็นที่เข้าใจว่าไทเก๊กนั้นเป็นที่ฮิตกันในวัยผู้สูงอายุ

 

แสดงความคิดเห็น