ผันน้ำยมจากสุโขทัยมาช่วยบรรเทาแล้งที่พิษณุโลก

0001โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษายมน่าน สำนักชลประทานที่ 3 พิษณุโลก ประสานขอผันน้ำจากแม่น้ำยมจากจ.สุโขทัย มาบรรเทาภัยแล้งในเขตพื้นที่อ.พรหมพิราม อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก เป็นน้ำที่ฝนตกเมื่อต้นเดือนมกราคมในเขตจ.แพร่ มาเก็บไว้ในแม่น้ำยมสายเก่าและลำคลองสาขา บรรเทาขาดน้ำอุปโภค-บริโภคและเติมน้ำใต้ดิน

0002

วันที่ 21 มกราคม 2558 ในการบรรเทาสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก โดยเฉพาะพื้นที่ในเขตลุ่มน้ำยม ที่เผชิญปัญหาภัยแล้งอย่างหนัก หลังจากต้นเดือนมกราคม 2558 แม่น้ำยมสายเก่า คลองเมม คลองบางแก้ว ลำน้ำสาขาของลุ่มน้ำยมตอนล่างใต้แห้งขอด ขาดน้ำอย่างหนัก ล่าสุด สถานการณ์เริ่มดีขึ้น เนื่องจากได้น้ำฝนที่ตกในเขตภาคเหนือตอนบน โดยเฉพาะจังหวัดแพร่ จังหวัดสุโขทัย เมื่อต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำทางตอนเหนือเพิ่มขึ้น โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษายมน่าน สำนักชลประทานที่ 3 พิษณุโลก จึงได้ประสานขอน้ำจากแม่น้ำยม จากประตูระบายน้ำหาดสะพานจันทน์ อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย ผันลงมาสู่คลองหกบาท และลงสู่แม่น้ำยมสายเก่า หรือ คลองเมม คลองบางแก้ว ระบายน้ำมาตั้งแต่วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2558 ที่ผ่านมา น้ำจากจ.สุโขทัย ใช้ระยะเวลา 5 วัน สามารถเติมลำคลองสาขาเหล่านี้ให้มีน้ำอยู่ตลอดสายในยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร ทำให้ช่วยบรรเทาปัญหาภัยแล้ง ในเขตอ.พรหมพิราม อ.เมืองพิษณุโลก อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก และอ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัยได้อย่างมาก

0009

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประตูระบายน้ำคลองบางแก้ว ม. 7 ต.บางระกำ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ปลายทางของแม่น้ำยมสายเก่าก่อนที่จะบรรจบกับแม่น้ำยมสายหลักในอ.บางระกำ ขณะนี้ สามารถกักเก็บน้ำเพิ่มระดับได้มาก เมื่อเทียบกับต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา ที่แทบไม่มีน้ำเหลืออยู่ และน้ำในลำคลองสาขาต่าง ๆ แห้งขอดหมด โดยขณะนี้ น้ำในคลองเมม คลองบางแก้ว คลองวังแร่ ในเขตชลประทานยม-น่าน ระดับน้ำได้เพิ่มสูงขึ้น ไม่แห้งขอดแล้ว ขณะที่พื้นที่การเกษตรที่อยู่ริมคูคลองเหล่านี้ ต่างเร่งสูบน้ำเข้าพื้นที่นา เนื่องจากหลายแห่ง บ่อน้ำบาดาลน้ำตื้น ไม่มีน้ำบาดาลเพียงพอให้สูบน้ำได้แล้ว0006

0004

นายกฤษณะ  บุตรบูรณ์ หัวหน้าฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 3 โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษายมน่าน สำนักชลประทานที่ 3 จ.พิษณุโลก เปิดเผยว่า ถือเป็นความโชคดีของพื้นที่อ.พรหมพิราม อ.บางระกำ จ.พิษณุโลกและอ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย ที่มีฝนตกในเขตจ.แพร่ จ.สุโขทัย มาเติมน้ำให้แม่น้ำยม เพราะก่อนหน้านี้แทบไม่มีน้ำหลงเหลืออยู่แล้ว และนับเป็นความสำเร็จ ของโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษายม-น่าน ที่มีการบริหารจัดการและมีเครือข่ายการบริหารจัดการน้ำร่วมกัน เพราะจะขอน้ำจากเขื่อนหลักมาช่วย น้ำก็ไม่มีเพียงพอ และการก่อสร้างประตูระบายน้ำต่าง ๆ ทำให้สามารถควบคุมส่งน้ำจากแม่น้ำยม มาสู่พื้นที่นี้ได้ ทำให้ช่วยบรรเทาปัญหาภัยแล้ง ช่วยเติมน้ำสำหรับอุปโภค-บริโภค และเติมน้ำลงสู่ใต้ดิน หากไม่มีน้ำในคลองเหล่านี้ ชาวนาในพื้นที่ที่ทำนาขณะนี้ร่วม 100,000 ไร่ ก็จะใช้บ่อน้ำบาดาลในที่นาของตนเอง ส่งผลให้น้ำใต้ดินจะไม่เหลือเพียงพอต่อระบบการผลิตน้ำประปาเพื่อการอุปโภคบริโภค โดยคาดว่า ปริมาณน้ำที่ผันมาจากแม่น้ำยมมาช่วยในพื้นที่ขณะนี้ น่าจะเพียงพอต่อการอุปดภค-บริโภคไปจนถึงเดือนเมษายน 2558 และเมื่อถึงเดือนพฤษภาคม ก็จะถึงวงรอบการปล่อยน้ำเพื่อการชลประทานพอดี

แสดงความคิดเห็น