โครงการรากฟันทียมเฉลิมพระเกียรติคืนรอยยิ้มให้ผู้สูงวัย

DSC_0924ปัจจุบันผู้สูงอายุที่ประสบปัญหาโรคในช่องปาก และปัญหาเกี่ยวกับการสูญเสียฟัน จนเกิดปัญหากระทบกับการกินอาหาร ส่งผลถึงสุขภาพที่ตามมาอีก  โดยเฉพาะผู้สูงวัยที่มีโรคประจำตัว ทั้งโรคความดันโลหิตสูงและ โรคเบาหวาน ซึ่งมีความเสี่ยงมากกว่าใคร ทางกระทรวงสาธารณสุข ได้ตระหนักถึงปัญหาโรคในช่องปากและเกี่ยวกับการสูญเสียฟัน จึงได้จัดทำโครงการรากฟันเทียมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คืนรอยยิ้ม และคุณภาพชีวิตผู้สูงวัยด้วยรากฟันเทียมDSC_0916โครงการความสุขพระราชทานจากฟันเทียมสู่รากฟันเทียม ตามกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวความว่า “เวลาไม่มีฟันกินอะไรไม่อร่อย ทำให้ไม่มีความสุข จิตใจก็ไม่สบาย ร่างกายก็ไม่แข็งแรง” ทรงมีความห่วงใยปัญหาสุขภาพช่องปากของประชาชน โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส ที่สูญเสียฟันทั้งปาก ส่งผลกระทบต่อสุขภาพตามมาDSC_0922ทั้งนี้ เพื่อสนองพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่ พ.ศ.2548 และ 2550 และในปี 2558 นี้ กกระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดให้ทั้ง 2 โครงการเฉลิมพระเกียรติ เป็นของขวัญปีใหม่แก่ประชาชน เพื่อสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถือเป็นของขวัญอันทรงค่าที่ทรงพระราชทานแก่ชาวไทย โดยในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 2 ประกอบด้วย จังหวัดพิษณุโลก สุโขทัย อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ และตาก จำนวน 90 คนDSC_0925

สำหรับการจัดการบริการโรคในช่องปาก จำเป็นต้องเร่งดำเนินการ เนื่องจากอัตราการเกิดฟันผุของประชาชนยังคงสูงอยู่ ผลสำรวจสุขภาพช่องปาก โดยกรมอนามัย ล่าสุดในปี 2555 ในกลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มเด็กอายุ 5 ปี พบฟันน้ำนมผุร้อยละ 79 กลุ่มอายุ 12 ปี ซึ่งเป็นวัยที่มีฟันแท้ขึ้นครบ 28 ซี่ พบฟันผุร้อยละ 52 กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป เผชิญ 2 เรื่อง คือ ฟันผุร้อยละ 97 และเป็นโรคปริทันต์เกือบร้อยละ 32 ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการแปรฟันไม่ถูกวิธี  มีหินปูนสะสม กระดูกรอบฟันถูกลาย  จนทำให้ฟันโยกและเป็นสาเหตุของการสูญเสียฟันของผู้สูงอายุไทย  จึงต้องเร่งแก้ไขป้องกัน โดยให้ทุกเขตสุขภาพเร่งรัดการเข้าถึงบริการทางทันตกรรมของ 3 กลุ่มนี้ ให้มากขึ้น  โดยเพิ่มการจัดบริการทันตกรรมทั้งการส่งเสริม  ป้องกันและรักษา ลดเด็กฟันผุให้เหลือต่ำกว่าร้อยละ 50 เน้นการป้องกันเบื้องต้น เช่นการให้ความรู้การแปรงฟันที่ถูกวิธี เพิ่มการใช้ฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ ขูดหินปูนและอูดฟัน โดยใช้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหรือศูนย์สุขภาพชุมชนเขตเมือง ซึ่งเป็นบริการการหลักดำเนินการปฐมภูมิเป็นฐานหลักดำเนินการและจัดทันตแพทย์หมุนเวียนไปให้บริการเพิ่มความครอบคลุม ประชาชนไม่ต้องเดินทางไปรักษาที่โรงพยาบาลใหญ่DSC_0926นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดโครงการใส่ฟันเทียมพระราชทานและรากฟันเทียมเป็นของขวัญปีใหม่ แก่ผู้สูงอายุทั่วประเทศที่ไม่มีฟันเคี้ยวอาหาร โดยตั้งเป้าหมายการใส่ฟันเทียมแก่ผู้สูญเสียฟันตั้งแต่ 50-100 เปอร์เซ็นต์ จำนวน 40,000 ชุด และใส่รากฟันเทียม 8,400 ชุด เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีผู้สูงอายุได้รับการใส่ฟันเทียมไปแล้วประมาณ 12,000 ราย หรือร้อยละ 30ของเป้าหมาย และใส่รากฟันเทียม จำนวน1,306 คน ในส่วนของเขตสุขภาพที่ 2ใส่ฟันเทียมไปแล้ว 1,043 ราย ใส่รากฟันเทียม 76 รายDSC_0880ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวอีกว่า ในกลุ่มผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่จะมีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง กำหนดให้ได้รับริการดูแลสุขภาพช่องภาพไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 เพื่อลดการติดเชื้อจากชก่องปาก และโรคปอดบวม จากการสำลักอาหาร ซึ่งพบว่ามีโอกาสถึงร้อยละ 30 รวมทั้งสนับสนุนให้ชมรมผู้สูงอายุดูแลอนามัยช่องปากตนเองให้ได้10,000 ชมรมทั่วประเทศ ขณะนี้ทำไปแล้ว 4,000 ชมรม การให้ความรู้ การดูแลสุขภาพฟัน ป้องกันโรคปริทันต์DSC_0916DSC_0917

แสดงความคิดเห็น