รัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิชาการด้านระบบราง

DSC_0742เมื่อวันที่ 26 ส.ค. 58 ที่คอนเวชั่น โรงแรมท็อปแลนด์ อ.เมืองพิษณุโลก  ดร.พิเชษฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานเปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เดินหน้างานวิชาการด้านระบบราง และถนนของประเทศไทย วิศวกรภาครัฐภาคเอกชน ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ  ศ.ดร.สุจินต์ จินายน อธิการมหาวิทยาลัยนเรศวร  ศ.ดร.วรศักดิ์ กนกนุกูลชัย  ประธานสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย Dr.Kihwan Kim President Korea Railroad Research Institute เข้าร่วมรับฟังเป็นจำนวนมากDSC_0766ด้วยทางมหาวิทยาลัยนเรศวรครบรอบ 25 ปี  ได้เป็นเจ้าภาพจัดประชุมวิชาการด้านระบบขนส่งทางรางของประเทศไทยครั้งที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2558 (The 2nd Thailand Rail Academy Symposium,2015) ได้เชิญผู้เกี่ยวข้องทั้งภาคการศึกษาและวิจัย ผู้ประกอบการด้านระบบขนส่งทางราง ตลอดทั้งผู้ที่สนใจ ร่วมรับฟังปาฐกถาพิเศษ  เรื่อง Opportunities and Challenges for Thailand to be ASEAN Railway Hub เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการขนส่งทางบกและระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทยในอนาคต  ตามกรอบยุทธศาสตร์ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งไทย พ.ศ.2558-2565  ประกอบด้วย การลงทุนพัฒนารถไฟรางคู่ และการลงทุนด้านการรถไฟฟ้า ขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 10 สายทาง เป็นการเชื่อมโยงระหว่างนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญระดับแนวหน้า ในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยได้เชิญสถาบันวิจัยด้านระบบรางจากประเทศเกาหลี Korea Railroad Research Institute (KRRI) และนักวิจัยที่มีชื่อเสียงระดับโลกจากประเทศจีน ญี่ปุ่น และยุโรป ร่วมเสนองานวิจัย เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้วิธีการพัฒนางานวิจัยทั้งไทยและต่างประเทศ  นำไปสู่การพัฒนาระบบขนส่งทางรางที่ดี(Good Practices) พร้อมเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีระบบรางแห่งภูมิภาคอาเซียนได้ในอนาคตDSC_0769ดร.พิเชษฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า การประชุมสัมมนาทางวิชาการระบบรางครั้งนี้ เป็นมิติที่ดีที่เราได้กระจายออกมาในภูมิภาคได้มีส่วนร่วม ทั้งนักวิชาการผู้ประกอบการ ร่วมทั้งหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง  รัฐบาลมีแนวทางชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ  เกี่ยวกับการวางระบบราง ส่วนที่เป็นรถไฟทางคู่ การปรับปรุงเส้นทางต่างๆ ไปจนถึงอนาคตของระบบรางที่มีความทันสมัย และมีความเร็วสูงขึ้น การประชุมครั้งนี้ไม่ได้พูดกรวางแผนระบบราง ส่วนนั้นกระทรวงคมนาคมดูแลรับผิดชอบอยู่ ในส่วนของเราจับมือร่วมผู้ประกอบการเดินรถทั้งหมด ร่วมกับมหาวิทยาลัยกว่า 10 แห่ง ร่วมกับสภาอุตสาหกรรม และผู้ประกอบในภาคอุตสาหกรรม ในโอกาสที่เราจะมีโอกาสลงทุนในระบบรางด้วยเม็ดเงินขนาดใหญ่ เราจะได้เข้าไปมีส่วนร่วมในส่วนเตรียมคนรองรับ ทั้งวิศวกร ช่างเทคนิค ผู้ประกอบการเดินรถ หรือผู้ที่มีส่วนร่วมในการซ่อมบำรุงรถไฟในอนาคต เราได้พูดคุยกระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงคมนาคม ร่วมทั้งสภาอุตสาหกรรม ว่ามีชิ้นส่วนไหนในเรื่องของระบบราง ที่ผู้กอบการไทยสามารถที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมได้บ้าง  บางส่วนที่ไฮเทคมากต้องให้ผู้รับงานไปทำ การเข้ามามีส่วนร่วมในตอนต้น จะช่วยทำให้พัฒนาการทางด้านอุตสาหกรรม ทางด้านผู้ประกอบการ ร่วมทั้งความเชี่ยวชาญและการถ่ายทอดเทคโนโลยีสามารถจะเกิดขึ้นได้ อย่างน้อยที่สุดถ้าเรามีระบบรางที่ทันสมัยแล้วสามารถผลิตชิ้นส่วนอะไหล่ ซ่อมแซมบำรุงรักษาของเราเองได้ ร่วมทั้งสร้างขีดความสามารถเพิ่มเติม ทำของเราเองได้เป็นการประหยัดงบประมาณในที่สุดDSC_0694

แสดงความคิดเห็น