CP เปิดจุดรับซื้อข้าวโพดจากเกษตรกรโดยตรง เพิ่มความมั่นใจผู้ปลูกมีตลาดรับซื้อแน่นอน

dsc00687วันที่ 25 ต.ค. 2559 ที่โรงงานอาหารสัตว์ ซีพีเอฟ จังหวัดพิษณุโลก นายไพศาล เครือวงศ์วานิช รองกรรมการผู้จัดการบริหาร บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทจัดหาวัตถุดิบอาหารสัตว์ให้แก่ บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า ขณะนี้ผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ออกสู่ตลาดจำนวนมาก สร้างความกังวลใจให้เกษตรกรรายย่อยเรื่องราคารับซื้อที่อาจจะตกต่ำ จึงได้ดำเนินโครงการเปิดรับซื้อข้าวโพดโดยตรงจากเกษตรกรรายย่อย เข้าโรงงานอาหารสัตว์ของซีพีเอฟเพื่อเป็นทางเลือก และเป็นหลักประกันว่าเกษตรกรจะมีตลาดรองรับแน่นอน ได้ราคารับซ้อที่เหมาะสม ตอบรับนโยบายของภาครัฐที่ช่วยพยุงราคารับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ไม่สร้างผลกระทบต่อเกษตรกร%e0%b8%8b%e0%b8%b5%e0%b8%9e%e0%b8%b5-7

%e0%b8%8b%e0%b8%b5%e0%b8%9e%e0%b8%b5-1โดยจุดรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทุกแห่งของบริษัททั่วประเทศ มีการดำเนินการได้มาตรฐาน และจัดระบบเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับเกษตรกรรายย่อยมากขึ้น มีกว่า 15 จุด โดยเกษตรการสามารถนำข้าวโพดที่มีความชื้น 30 เปอร์เซ็นต์ มาจำหน่ายให้กับโรงงานอาหารสัตว์ได้โดยตรง จากปกติเคยรับซื้อที่ความชื้น 14.5 เปอร์เซ็นต์ มีการจัดฟาสต์แทร็กเลนให้เกษตรกรรายย่อยขายผลผลิตได้ก่อน ไม่เสียเวลาในการรอคิว สามารถลงผลผลิตได้อย่างรวดเร็ว และขายผลผลิตได้มากกว่า 1 รอบภายในวันเดียวกัน และบริษัทยังมีนโยบายให้จุดรับซื้อทุกแห่ง ประกาศและยืนราคารับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในอัตราเดียวกันเป็นเวลา 1 สัปดาห์%e0%b8%8b%e0%b8%b5%e0%b8%9e%e0%b8%b5-11

สำหรับการรับซื้อข้าวโพดชื้น 30 เปอร์เซ็นต์ เข้าโรงงานอาหารสัตว์โดยตรง เป็นการลดภาระต้นทุน ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยมากยิ่งขึ้น และการยืนราคา 1 สัปดาห์ช่วยให้เกษตรกรวางแผนการเก็บเกี่ยวได้ ทั้งนี้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่จะจำหน่ายผลผลิตให้โรงงานอาหารสัตว์ของซีพีเอฟ ต้องปฏิบัติตามนโยบายการตรวจสอบย้อนกลับของแหล่งที่มาของข้าวโพด เพื่อให้มั่นใจว่าผลผลิตที่เกษตรกรนำมาจำหน่าย มีการเพาะปลูกในพื้นที่ที่มีเอกสารสิทธิถูกต้อง ไม่มีการบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อปลูกข้าวโพดแต่อย่างใดdsc00688

นอกจากสนับสนุนด้านตลาดรับซื้อแล้ว บริษัทยังดำเนินโครงการ “เกษตรกรพึ่งตน ข้าวโพดยั่งยืน” เพื่อพัฒนาศักยภาพเกษตรกรให้มีความรู้ในการเพาะปลูกที่ถูกต้องตามหลักวิชาการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ ลดต้นทุนการผลิต นำไปสู่การมีรายได้ที่ดีอย่างยั่งยืน ปัจจุบันมีเกษตรกรเข้ารับการอบรมกว่า 4,311 ราย ครอบคลุมพื้นที่ปลูก 118,069 ไร่ใน 20 จังหวัด และยังประยุกต์ใช้กับโครงการเกษตรสมัยใหม่ภายในนโยบายประชารัฐใน 2 พื้นที่ ได้แก่ ต.หนองกะท้าว อ.นครไทย จ.พิษณุโลก และ ต.ซับพุทรา อ.ชนแดน จ.เพชรบูรณ์%e0%b8%8b%e0%b8%b5%e0%b8%9e%e0%b8%b5-12

%e0%b8%8b%e0%b8%b5%e0%b8%9e%e0%b8%b5-13

////////////

แสดงความคิดเห็น