อันซีน! พบแมงกะพรุนน้ำจืด โตเต็มวัยผุดขึ้นในลำน้ำเข็ก

0008

วันที่ 10 เมษายน 2556 ที่แก่งท่ามะเดื่อ ม.12 ต.บ้านแยง อ.นครไทย จ.พิษณุโลก ที่ลำน้ำเข็ก ช่วงไหลผ่านหมู่บ้านบ้านเข็กพัฒนา ริมถนนสายพิษณุโลก-หล่มสัก บริเวณหลักกม.ที่ 73 ชาวบ้านเข็กพัฒนาได้เฝ้าสังเกตุปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงหน้าร้อนระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน คือ การขึ้นมาเล่นน้ำของแมงกะพรุนน้ำจืดระยะโตเต็มวัย ที่ปีนี้ ชาวบ้านได้สังเกตแล้วพบว่า แมงกะพรุนน้ำจืด ที่แก่งท่ามะเดื่อ ระยะโตเต็มวัย ได้ดำผลุดดำว่ายขึ้นมาเหนือผิวน้ำจำนวนมาก โดยชาวบ้านเริ่มพบเห็นในช่วงเวลา 14.00 น.-15.00 น. ของวันที่ 9 เมษายน 2556 และสามารรถใช้มือเปล่าช้อนมาสังเกตการณ์ได้ร่วม 30 กว่าตัว ขณะที่ช่วงเที่ยงของวันที่ 10 เมษายน 2556 ชาวบ้านได้เข้ามาสังเกตอีกรอบ ก็พบแมงกะพรุนน้ำจืดขึ้นมาเล่นบนผิวน้ำอีกเกือบ 10 ตัว ถือว่าเป็นการพบที่มากเป็นพิเศษ

0010 0007

นางพะยอม  อิ่มแจ่ม อายุ 47 ปี ชาวบ้านบ้านเข็กพัฒนา ม.12 ต.บ้านเข็กพัฒนา ต.บ้านแยง อ.นครไทย จ.พิษณุโลก เปิดเผยว่า ที่แก่งท่าเดื่อ ชาวบ้านได้พบเห็นแมงกระพุรนน้ำจืดขึ้นเป็นประจำในช่วงหน้าร้อนของทุกปี แต่บางปีก็ขึ้นมาก บางปีก็ขึ้นน้อยพบเห็นแค่ตัวสองตัวเท่านั้น เช่นปีที่แล้ว แทบไม่มีใครพบเลย แต่ปีนี้ในวันที่ 9 เมษายนที่ผ่านมา ในช่วงบ่ายสองช่วงเวลาที่สภาพอากาศร้อนจัด ก็พบเห็นแมงกระพุรนน้ำจืดดำผุดดำว่ายขึ้นริมชายฝั่งเต็งไปหมด และวันนี้ก็มาสังเกตุก็ยังพบอีก สร้างความตื่นเต้นให้กับชาวบ้านอย่างมาก ที่พบเห็นได้จำนวนมากขนาดนี้

0004

0006

แมงกะพรุนน้ำจืดในลำน้ำเข็ก หรือ แม่น้ำวังทอง ถูกค้นพบศึกษาอย่างเป็นทางการช่วงปี 2548-2549 พบในล้ำน้ำเข็ก ที่แก่งวังน้ำเย็น อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวงหนองแม่นา อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ จุดที่ค้นพบแมงกะพรุนน้ำจืดเป็นประเทศที่ 5 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา รัสเซีย อังกฤษและญี่ปุ่น มีนักวิจัยวิชาการและนักวิจัยชาวบ้านเก็บข้อมูลศึกษากันมา และททท.พิษณุโลก ก็ร่วมส่งเสริมการท่องเที่ยวกับกลุ่มชาวบ้านหนองแม่นา

0004 (2)

มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า”Crasapedacusta Sowerbyi “ มีชื่อสามัญว่า “Freshwater Jellyfish” กินแพลงก์ตอน สัตว์เล็ก ๆ ไม่มีกระดูกสันหลังเป็นอาหาร มีขนาดประมาณเหรียญ 5 บาท หรือ เหรียญ 10 บาท ร่างกายมีสีขาวใสและขาวขุ่น ประกอบด้วยน้ำประมาณ 95-99 เปอร์เซ็นต์ มีลำตัวคล้ายร่ม หรือกระดิ่ง มีหนวด มีเยื่อบาง ๆ ตรงขอบร่มช่วยในการเคลื่อนไหว บริเวณกลางร่มเป็นทางเข้าออกของอาหาร ช่วงเวลาที่พบคือฤดูร้อนที่อากาศอบอุ่นและน้ำนิ่ง หรือช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน แต่ก็ยังเป็นปริศนาอยู่ทุกวันนี้ เพราะตลอดช่วงฤดูฝน สายน้ำเข็กจะกลายสภาพเป็นสีน้ำตาลขุ่นข้นด้วยการชัดล้างของหน้าดินสูง ขณะที่ช่วงหน้าร้อนนั้นน้ำจะใส ๆ และยังเป็นปริศนา ช่วงหน้าฝนแมงกะพรุนเหล่านี้ซุกซ่อนอยู่แห่งหนไหน

0009

ค้นข้อมูลเก่าก็พบว่า เจอทุกปี ช่วงหน้าแล้ง ปีนี้ 2556 ก็เริ่มพบในระยเป็นไข่ เกือบโตเต็มวัย “แมงกะพรุนน้ำจืด” ในลำน้ำเข็ก บริเวณ อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง ต.บ้านแยง อ.นครไทย จ.พิษณุโลก  เริ่มค้นพบในจังหวัดพิษณุโลกเมื่อปี 2548 ที่บริเวณแก่งจิก หรือ แก่งท่าเดื่อ บ้านเข็กพัฒนา ต.บ้านแยง อ.นครไทย จ.พิษณุโลก ริมทางหลวงหมายเลข12 พิษณุโลก-หล่มสัก กม.73-74 นั้น และบริเวณน้ำตกแก่งโสภา บริเวณ กม.ที่ 71-72 น้ำตกชั้นที่ 2 ที่เป็นแอ่งรับน้ำจากน้ำตกสูง 10 เมตร ที่พบว่า ตามแอ่งน้ำนิ่งต่าง ๆ มีแมงกะพรุนน้ำจืดขนาดโตเต็มไวผุดว่ายขึ้นมาจำนวนมาก โดยหลังจากค้นพบที่บ้านเข็กพัฒนาเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2548 ชาวบ้านเข็กพัฒนา ได้เฝ้าติดตามการขึ้นผุดว่ายของแมงกะพรุนน้ำจืดมาอย่างต่อเนื่องมาทุกปี ย้อนหลังสิถิติการเริ่มพบวันที่ 5 มีนาคม ปี 2549 เริ่มพบวันที่27 กุมภาพันธ์ ปี 2548 เริ่มพบวันที่ 8 มีนาคม และปี 2551 เริ่มพบวันที่ 23 มีนาคม 2553 และจะพบเห็นต่อเนื่องไปจนถึงเดือนเมษายน ชาวบ้านแถบนั้นเรียกว่า “แมงอีหยิบ”ตามลักษณะพฤติกรรม”หยุบเข้า หยุบออก”ของมันขณะกำลังว่ายน้ำ

0011

////

ชมภาพวีดีโอ

แสดงความคิดเห็น