วัดราชบูรณะ

DSC_0532วัดราชบูรณะ ปัจจุบันตั้งอยู่ใจกลางเมืองพิษณุโลก ติดฝั่งแม่น้ำน่าน เยื้องกับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) ตรงข้ามกับวัดนางพญา โดยมีถนนมิตรภาพตัดผ่ากลาง ทำให้วัดอยู่คนละฝั่งถนน ไม่ปรากฏหลักฐานการก่อสร้างว่า เริ่มสร้างขึ้นครั้งแรกในสมัยใด เสนอ นิลเดช (2532 : 56) DSC_0590ได้เขียนเรื่องวัดราชบูรณะ ไว้ในหนังสือสองแควเมื่อวานพิษณุโลกวันนี้ว่า “วัดราชบูรณะ เป็นวัดเก่าแก่โบราณวัดหนึ่งเข้าใจว่าคงจะมีอายุถึงสมัยสุโขทัยก็อาจจะเป็นได้ วัดแห่งนี้เดิมมีอาณาเขตติดต่อกับวัดนางพญาDSC_0537 ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2502 กรมทางหลวงได้ตัดถนนสายพิษณุโลก-หล่มสัก คือ ถนมิตรภาพ ถนนสายนี้ได้ตัดผ่านเข้าไปในเนื้อที่วัดนางพญาและวัดราชบูรณะ ถนนมิตรภาพได้ตัดเฉียดพระอุโบสถไปอย่างใกล้ชิด จนต้องรื้อย้ายใบเสมามุมพระอุโบสถด้านตะวันออกเฉียงเหนือ

 

วัดราชบูรณะเป็นวัดโบราณ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยสุโขทัยก่อนรัชสมัยพระยาลิไท แต่ไม่พบหลักฐานที่ชัดเจน แต่จากการค้นคว้าจากหลักฐานดังต่อไปนี้

ประวัติวัดบนไม้แผ่นป้ายของวัด มีความว่า “วัดราชบูรณะเดิมไม่ปรากฏชื่อ ก่อสร้างมานาน 1,000 ปีเศษ ก่อนที่พระยาลิไทได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์ ดังนั้นวัดนี้จึงได้ชื่อว่า “วัดราชบูรณะ” รวมความยาวนานถึงปัจจุบันประมาณ 1,000 ปีเศษ พระยาลิไททรงสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดาแล้ว ทองยังเหลืออยู่จึงได้หล่อพระเหลือขึ้น และทรงทอดพระเนตรเห็นว่าวัดนี้ชำรุดทรุดโทรมมาก จึงได้บูรณะขึ้นมาอีกครั้งจึงได้นามว่า “ราชบูรณะ” ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน วันที่ 27 กันยายน 2479

DSC_0560 พระวิหารหลวงวัดราชบูรณะ อาคารก่ออิฐถือปูน กว้าง 18 เมตร ยาว 23 เมตร สูง 13 เมตรหันไปทางทิศตะวันออก ด้านหน้ามีทางขึ้นลง 3 ทาง ประตู 3 คู่ หน้าต่างด้านละ 7 คู่ พื้นวิหารยกสูงจากพื้นดินประมาณ 1.75 เมตร พระวิหารมีสถาปัตยกรรมทรงโรง 9 ห้อง ศิลปะสมัยสุโขทัยด้านหน้ามีระเบียงเสาหานร่วมเรียงในรองรับ 4 เสา มีบัวหัวเสาเป็นบัว 2 ชั้นมีกลีบยาวDSC_0544 ส่วนหลังคาสร้างแบบเดียวกันกับพระอุโบสถ ต่างกันที่ใช้พญานาคเศียรเดียว พระอุโบสถเป็นพญานาคสามเศียร บานประตูหน้า 3 คู่ หลัง 2 คู่ แกะสลักลวดลายดอกบัวตูมเรียงต่อกัน เสาในพระวิหารมี 2 แถว แถวละ 7 ต้น เป็นเสาศิลาแลงก่ออิฐถือปูนทรงกลมเส้นผ่านศูนย์กลาง 80 เซนติเมตร ทาสีแดงฉลุสีทองที่โคนเสาและปลายเสาเพื่อรองรับตัวขื่อที่บัวหัวเสาเป็นบัวกลีบซ้อนกัน 5 ชั้น ที่คานบนมีลายดอกไม้เขียนพื้นไม้สีดำลายฉลุทอง
ภายในพระวิหารหลวง ประดิษฐาน หลวงพ่อทองดำ พระประธาน ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทองปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 4 เมตร สูง 5.50 เมตร ศิลปะสมัยสุโขทัยที่ชาวบ้านเรียกกันว่าหลวงพ่อทองดำ ที่ศักดิ์สิทธิ์ มีคนกราบไว้บูชาขอพรขอโชคขอลาภล้วนประสิทธิผล พระพุทธลักษณะคล้ายพระพุทธชินราชมาก ประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชี 2 ชั้น สูง 1.50 เมตร ชั้นล่างสูง 1 เมตร เป็นรูปเท้าสิงห์ ชั้นบนสูง 0.5 เมตร เป็นฐานบัวคว่ำบัวหงายDSC_0533
พระอุโบสถ ขนาด กว้าง10 เมตร ยาว 18 เมตร สูง 10 เมตร ลักษณะก่ออิฐถือปูน ผนังหนาราว 50 เซนติเมตร  มีบันไดขึ้นทางด้านหน้าสองแห่งและด้านหลังสองแห่ง โครงสร้างหลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องดินเผา พระอุโบสถวัดราชบูรณะเป็นการวางรูปโบสถ์แบ่งออกเป็นหกห้อง ประตูหน้าหลังด้านละสองประตูหลัง หลังคามุขหน้าหลังปีกนกคลุมสองชั้น ทรงนี้เรียกว่า แบบทรงโรง ลักษณะเป็นแบบเก่าสมัยอยุธยาและถูกซ่อมแซมมาหลายยุคสมัย ภายในมีเสาห่านร่วมในเรียงอยู่สองแถว เพื่อรับตัวขื่อ หน้าจั่วเป็นแบบเก่าคือแบบภควัม เช่นเดียวกับจั่ววิหารพระพุทธชินราช แปดเหลี่ยมเพื่อรองรับรวยระกาที่หนาบันโดยเฉพาะ ลำยองจึงไม่ทำวงแบบ นาคสะดุ้ง หางหงส์และนาคปรก ทำเป็นนาคเบือน ลักษณะความแหลมของแนวหลังคาเป็นแบบเก่าที่ใช้กับรวยระกา ตามแบบป้านลมสมัยสุโขทัยได้อย่างดีบานประตูสลักรูปดอกเป็นสี่กกลีบแบบดอกลำดวน ภายในอุโบสถเป็นภาพเขียน เรื่องรามเกียรติ์และตอนที่ดีที่สุดคือ ตอน ทศกัณฐ์สั่งเมืองที่ผนังด้านทิศเหนือ ส่วนด้านล่างเป็นเรื่อง กามกรีฑา ซึ่งไม่พบที่ใดมาก่อน น่าจะเขียนขึ้นในรัชกาลที่ 4 บางตอนถูกน้ำฝนเสียหาย และพระประธานก็นับว่างดงามมาก ปัจจุบันทางวัดได้มีการบูรณะเปลี่ยนกระเบื้องหลังคาและทาสีขาวใหม่ทั้งหลัง ภายในพระอุโบสถ ประดิษฐานพระประธาน พระพุทธรูปปางมารวิชัย(หลวงพ่อทองสุข) ลงรักปิดทองหน้าตักกว้าง 2 เมตร สูง 3 เมตร ศิลปะสมัยสุโขทัยประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชีก่ออิฐถือปูนชั้นล่างเป็นฐานเท้าสิงห์ 2 ชั้น ชั้นบนสุดเป็นฐานบัวคว่ำบัวหงาย ปิดทองประดับกระจกสีDSC_0561

เจดีย์หลวง ตั้งอยู่บนฐานก่ออิฐถือปูนขนาดใหญ่ รูปทรงแปดเหลี่ยมยาวด้านละ 9 เมตร สูง 24 เมตร โดยเรียงซ้อนเป็นชั้นขึ้นไป12 ชั้น จนถึงชั้นระเบียงรอบ มีเจดีย์ทรงกลม หรือเจดีย์ทรงลังกาตั้งอยู่บนลาน ระเบียงรอบหรือลานประทักษิณเป็นเจดีย์ประธาน เจดีย์เล็กคล้ายองค์เจดีย์ประธานตั้งอยู่ด้านล่างรอบองค์เจดีย์ มีกำแพงแก้วล้อมรอบ เดิมยอดเจดีย์หักชำรุดสูญหายไป เหลือแต่ฐานบัลลังก์เหนือคอระฆัง พระเจดีย์วัดราชบูรณะองค์นี้เป็นพระเจดีย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และสูงที่สุดในจังหวัดพิษณุโลก ในปี พ.ศ. 2533 กรมศิลปากร ได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์รากฐานและก่อยอดพระเจดีย์วัดราชบูรณะ ให้มีความมั่นคงแข็งแรงและสมบูรณ์ดีDSC_0574

เมื่อปี พ.ศ. 2528 กรมศิลปากรได้ขุดค้นเจดีย์หลวงวัดราชบูรณะเพื่อจำทำการบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ ได้ขุดค้นพบพระบรมสารีริกธาตุที่บรรจุไว้ในคอระฆังของเจดีย์หลวงซึ่งบรรจุไว้ในผอบ และเจดีย์จำลองเล็กๆ ที่ทำจากทองสำริด ซึ่งทางวัดได้นำออกมาให้พุทธศาสนิกชนได้สักการบูชาที่ศาลาการเปรียญ ปัจจุบันวัดราชบูรณะกำลังก่อสร้างมณฑปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ  จากข้อมูลหลักฐาน พระไหล่ลาย ได้น้อมอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานไว้ที่นครปฐมแห่งหนึ่ง เดินทางขึ้นเหนือถึงเมืองพิษณุโลก อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุไปประดิษฐานไว้ที่วัดสำคัญ ๆ 3 แห่ง ดังนี้

1. วัดบูรพาตะวันออก จำนวน 30 องค์ นักโบราณคดีสันนิษฐานคือ หลังวัดเขาสมอแคลง อ.วังทอง จ.พิษณุโลกDSC_0593

2. วัดเสนาสน์ อ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก จำนวน 36 องค์

3. วัดมหาเจดีย์หรือวัดมหาสถาน จำนวน 30 องค์ นักโบราณคดีสันนิษฐานคือ วัดราชบูรณะปัจจุบัน ซึ่งทางวัดราชบูรณะได้ดำเนินการก่อสร้างมณฑป เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุดังกล่าว

 

หอไตรเสากลม เป็นหอไตรคอนกรีตกว้าง 6 เมตร ยาว 6 เมตร สูง 11 เมตร มีเสาปูนกลมเรียง 4 แถว แถวละ 4 ต้น สูงต้นละ 4 เมตร มีบัวหัวเสากลับ 2 ชั้น ชั้นล่างเป็นหอระฆัง ชั้นบนเป็นหอไตรเก็บรักษาพระคัมภีร์ต่างๆ หอไตรทำด้วยไม้สับแบบฝาประกบมีประตูทางเข้า 1 ประตู ทางด้านทิศใต้มีระเบียงกว้าง 1 เมตร เดินได้โดยรอบ มีหน้าบัน 4 ทิศ เป็นปูนปั้น มีช่อฟ้าใบระกาหางหงส์ทุกมุมทั้ง 8 มุม ทิศเหนือและทิศใต้มีลายปูนปั้นรูปพระยาครุฑจับพระยานาค ยอดหอไตร มียอดเรียวแหลมคล้ายยอดของพระเจดีย์ที่มียอดเหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง รอบหอระฆังมีกำแพงแก้วล้อมรอบยาว 10 เมตร มีซุ้มประตูกำแพงแก้วด้านทิศใต้ หอไตรนี้ถูกสร้างขึ้นเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐาน แต่หากพิจารณาตามรูปแบบสถาปัตยกรรมแล้วน่าจะสันนิษฐานได้ว่า สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัยDSC_0549

เรือพระที่นั่งรับเสด็จสมัย ร.5 ประวัติเรือพระที่นั่งรับเสด็จสมัย ร.5 ตามคำบอกเล่า ของอดีตเจ้าอาวาสวัดราชบูรณะ คนเก่าคนแก่ของวัดและชาวพิษณุโลก เรือลำนี้เป็นเรือพระที่นั่งรับเสด็จ สมัย ร.5ยาว 12 เมตร กว้าง 1.7 เมตร สมัยเสด็จขึ้นมานมัสการพระพุทธชินราช เมืองพิษณุโลก เสด็จไปที่ต่างๆ เพื่อนมัสการศาสนสถาน และเยี่ยมเยียนพสกนิกรของพระองค์ ได้ใช้เรือลำนี้เป็นเรือพระที่นั่งแทนเรือพระที่นั่งที่มาจากเมืองหลวง (บางกอก) ในสมัยที่เสด็จมาในคราวนั้น เมื่อปี พ.ศ. 2527 ทหารค่ายสฤษดิ์เสนา ได้มาพัฒนาวัดราชบูรณะ โดยใช้ทหาร 300 นาย พัฒนา 3 วัน 3 คืน พบเรือพระที่นั่งรับเสด็จลำนี้ จมดินเหลือแต่ท้ายเรือเท่านั้นที่พ้นดิน ได้ขุดเอาเรือพระที่นั่งรับเสด็จลำนี้ขึ้นมา ทำการบูรณะซ่อมแซม และได้จัดตั้งไว้กลางลานวัดหน้าพระวิหารDSC_0585  ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2533 ฉลอง 400 ปี ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทางศึกษาธิการจังหวัดพิษณุโลกได้มาอัญเชิญเรือพระที่นั่งรับเสด็จสมัย ร.5 ลำนี้ไปทำการบูรณะซ่อมแซมอีกครั้ง และได้นำลงแม่น้ำน่านเป็นครั้งแรก ซึ่งไม่เคยนำลงน้ำมาเป็นเวลานับร้อยปี เพื่อฉลองครบรอบ 400 ปี ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชในนามเรือ “พระยาจีนจัตตุ” หลังจากนั้นได้อัญเชิญขึ้นมาไว้ที่วัดราชบูรณะจนถึงปัจจุบันDSC_0575

 

 

แสดงความคิดเห็น