หนุน OTOP สู่ความสำเร็จด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

DSC_0877อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กระตุ้นผู้ประกอบการโอท็อปในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง นำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ยกระดับมาตรฐานของผลิตภัณฑ์โอท็อปให้สามารถสร้างรายได้ สามารถแข่งขันทางการตลาดในระดับประเทศได้DSC_0876

วันที่ 20 มกราคม 2558 ที่ห้องคอนเวนชั่น โรงแรมอมรินทร์ลากูน อ.เมือง จ.พิษณุโลก ดร.สุทธิเวช ต.แสงจันทร์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เป็นประธานเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการโครงการเสริมสร้างผลิตภัณฑ์โอท็อป (OTOP) ให้ก้าวสู่ระดับสากลด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่องสร้างคุณภาพสินค้าโอท็อปเพื่อรายได้ที่ยั่งยืน โดยมีนายวัฒนะ กันนะพันธุ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก และผู้ประกอบการโอท็อปในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือตอนล่างเข้าร่วมกว่า 300 คนDSC_0883

ดร.สุทธิเวช  ต.แสงจันทร์  อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กล่าวว่า สืบเนื่องจากที่ผ่านมามีผู้ประกอบการโอท็อป กว่า 1,000 ราย ได้เข้ามาปรึกษาด้านการพัฒนาสินค้า แต่สามารถผ่านเพียง 300 รายเท่านั้น ทางกรมวิทยาศาสตร์ได้ตระหนักในปัญหา จึงต้องการยกระดับผลิตภัณฑ์โอท็อปให้ได้มาตรฐาน จึงจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อยกระดับมาตรฐานโอท็อปกับหน่วยงานต่างๆ ในกลุ่มจังหวัดในภูมิภาคเพื่อให้สอดคลองกับแผนยุทธศาสตร์ของจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัด  ซึ่งกรมวิทยาศาสตร์บริการมุ่งเน้นขับเคลื่อนโดยนำผลงานวิจัยของกรมมาถ่ายทอดให้กับผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน เป็นการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์โอท็อป โดยใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหา และพัฒนากระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์โอท็อปตรงตามความต้องการของผู้ประกอบการชุมชน เพื่อยกระดับคุณภาพมาตรฐานของผลิตภัณฑ์โอท็อป ให้สามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้น และสามารถแข่งขันทางการตลาดในระดับประเทศได้ ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นDSC_0880

โดยผลิตภัณฑ์โอท็อปของไทยแต่ละภาคมีเอกลักษณ์ท้องถิ่นที่โดดเด่นเป็นที่นิยมของผู้ซื้อ สร้างรายได้ให้ชุมชน ซึ่งยุทธศาสตร์จังหวัดพิษณุโลกในการพัฒนากระบวนการผลิต การตลาด และการบริหารจัดการสินค้าเกษตรเชิงคุณภาพ เน้นการบริหารจัดการสินค้าเกษตร ให้มีคุณภาพมาตรฐานปลอดภัยเชื่อมโยงการตลาด มีความสอดคล้องกับการดำเนินโครงการสร้างผลิตภัณฑ์โอท็อปให้ก้าวสู่ระดับสากลด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของกรมวิทยาศาสตร์บริการ ที่เน้นงานด้านบริหารทางห้องปฏิบัติการให้บริการต่อสังคม ช่วยให้ผู้ปกระกอบการโอท็อปมีความรู้และตระหนักถึงการนำวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค มีความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นการเพิ่มมูลค่าผลิต พัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนและสามารถยื่นขอการรับรองได้ตามมาตรฐานได้ ซึ่งปัจจุบันมีผู้ผ่านการรับรองมาตรฐานทั่วประเทศกว่า 300 รายเท่านั้นDSC_0908

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กล่าวว่า การสัมมนาในครั้งนี้คาดหวังจะเป็นประโยชน์ช่วยส่งเสริม ให้เกิดการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ของจังหวัด และมีความต่อเนื่องครอบคลุมทั้งระบบ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ผู้ประกอบการได้รับการแก้ไขปัญหาและพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นพื้นฐาน ได้ตามความต้องการอย่างเป็นรูปธรรม.DSC_0888

แสดงความคิดเห็น