ทดสอบแอปจำลองพระที่นั่งพระราชวังจันทน์บนสมาร์ทโฟน…ใช้ได้จริงพค.59นี้

fgbnfgbวันที่ 22 มีนาคม 2559 เวลา 13.30 น.รองศาสตราจารย์ ดร.ไพศาล มุณีสว่าง อาจารย์ประจำคณะคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร/ที่ปรึกษาโครงงานวิจัย นายนรินทร บุญแร่ และนายธีรวัฒน์ หินแก้ว นิสิตสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรชั้นปีที่ 4  ผู้จัดทำโครงงานวิจัย   แอปพลิเคชันจำลองพระราชวังจันทน์ด้วยกล้องมือถือนี้ (Application AR Marker) เดินทางมายังพระราชวังจันทน์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลรายละเอียดแอฟพลิเคชั่นดังกล่าวและทดสอบการพัฒนาให้กับสื่อมวลชนยังสถานที่จริงพระราชวังจันทน์ อ.เมืองพิษณุโลก  IMG_2787

ดร.ไพศาล มุณีสว่าง อาจารย์ที่ปรึกษา เผยว่า แอฟพลิเคชั่นจำลองพระราชวังจันทน์ด้วยกล้องมือถือนี้ ได้นำเทคโนโลยีผสมเสมือนจริง (Augmented Reality) บนสมาร์ทโฟนระบบแอนดรอยด์มาใช้ ผสมกับรูปลักษณ์สัณฐานพระที่นั่งพระราชวังจันทน์ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชรูปแบบสองมิติและสามมิติ  ซึ่งออกแบบโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วศิน ปัญญาวุธตระกูล ผู้อำนวยการสถานอารยธรรมศึกษา โขง-สาละ เมื่อเปิดตัวแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนระบบแอนดรอยด์ นักท่องเที่ยวสามารถดาวน์โหลดแล้วเข้าไปยังแอฟพลิเคชั่นดังกล่าว นักท่องเที่ยวสามารถเห็นรูปภาพพระที่นั่งพระราชวังจันทน์ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชรูปแบบสองมิติและสามมิติปรากฎบนสมาร์ทโฟน แอฟพลิชั่นนี้ โดยไม่ต้องเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตสามารถใช้ได้เลย คาดว่าจะเปิดตัวแอฟพลิเคชั่นให้ดาวน์โหลดกันได้เดือนพฤษภาคมนี้ในระบบปฏิบัติการแอนดรอย์ อย่างไรก็ตามแอปพลิเคชันนี้นับเป็นต้นแบบที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับโบราณสถานอื่น ๆ ได้ อาทิ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยDSC05114

DSC05115

นายนรินทร บุญแร่ และนายธีรวัฒน์ หินแก้ว นิสิตสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรชั้นปีที่ 4  ผู้จัดทำโครงงานวิจัย กล่าวต่อว่า “แอฟพลิเคชั่นนี้เป็นโครงงานวิจัยจบระดับปริญญาตรี เหตุผลที่คิดแอฟพลิเคชั่น เพื่อเพิ่มความสะดวกให้นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวพระราชวังจันทน์ ที่มาเที่ยวชมปกติแล้วจะไม่เห็นตัวพระที่นั่งพระราชวังจันทน์ที่สมบูรณ์แบบ จึงคิดแอพลิเคชั่นนี้ โดยเป็นการจำลองเฉพาะส่วนพระที่นั่งพระราชวังจันทน์ในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ยุคสมัยที่สองเท่านั้น ก่อนหน้านี้ได้ปรึกษากับผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วศิน ปัญญาวุธตระกูล ผู้อำนวยการสถานอารยธรรมศึกษา โขง-สาละ  เพื่ออ้างอิงข้อมูลเกี่ยวกับพระราชวังจันทน์และตัวรูปแบบสามมิติซึ่งออกแบบโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วศิน ปัญญาวุธตระกูล  โดยใช้เวลาในการทำหนึ่งเทอมเต็มในคิดแอฟพลิชั่น”DSC05119

หลังจากนั้น ดร.ไพศาล มุณีสว่างและนิสิตทั้งสองได้พาสื่อมวลชนไปดูการทำงานของแอฟพลิเคชั่นจำลองพระราชวังจันทน์ด้วยกล้องมือถือ (Application AR Marker) โดยไปยืนยังบริเวณด้านทิศเหนือของพระราชวังจันทน์ จุดที่เป็นการทดสอบแอฟพลิเคชั่น ให้สื่อมวลชนได้ชม แม้ว่าจะยังไม่สมบูรณ์แบบ แต่ก็เป็นการเติมเต็มภาพเสมือนจริงที่จำลองขึ้นมา ทั้งนี้ถ้าหากแอฟพลิเคชั่นเสร็จสมบูรณ์แล้ว นักท่องเที่ยวสามารถยืนยังจุดศาลสมเด็จพระนเรศวรได้เลยพระราชวังสามหลังด้านเฉียง 2

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วศิน ปัญญาวุธตระกูล ผู้อำนวยการสถานอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวว่า สถานอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวินเป็นหน่วยงานที่ดำเนินภารกิจด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับภูมิภาค ทั้งนี้ตลอดระยะเวลา 2 – 3 ปีที่ผ่านมาสถานอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน ได้ศึกษาและคิดค้นรูปลักษณ์สัณฐานพระที่นั่งในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มาโดยตลอด จนล่าสุดได้ออกแบบพระราชวังจันทน์ในยุคต่างๆ จนได้ในลักษณะ 3D จากนั้นจึงได้ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จัดทำแอปพลิเคชั่นจำลองพระราชวังจันทน์ด้วยกล้องมือถือขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานให้สามารถเห็นถึงลักษณะของพระที่นั่งพระราชวังจันทน์ในอดีต โดยนำรูปลักษณ์สัณฐานพระที่นั่งพระราชวังจันทน์ในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชรูปแบบสองมิติและสามมิติ ขึ้น เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้สามารถมาท่องเที่ยวพระราชวังจันทน์ ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดพิษณุโลก ได้สามารถนำโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนS__3072035

แอปพลิเคชั่นจำลองพระราชวังจันทน์ด้วยกล้องมือถือนี้ นับเป็นความสำเร็จของมหาวิทยาลัยนเรศวร โดยนิสิตสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และสถานอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน อีกทั้งยังเป็นนวัตกรรมต้นแบบอันเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ต้องการศึกษา นักท่องเที่ยว ตลอดจนการบูรณะ พัฒนา เนื่องจากสามารถเก็บรักษาได้เป็นเวลานาน และยากต่อการชำรุดเสียหาย และคาดการณ์ว่าจะให้ประชาชนทั่วไปดาวน์โหลดผ่าน app store ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ในเดือนพฤษภาคม 2559 นี้ สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นฟรีไม่เสียค่าบริการS__3072015

IMG_2784…………………………………………………………………………………………..

รายงานโดย….น.ส.นิโลบล  คำชนแดน นิสิตชั้นปี 4 ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ ม.นเรศวร / นศ.ฝึกงานพิษณุโลกฮอตนิวส์

……………………………………………………………………………………………………………….

 

แสดงความคิดเห็น