ทำความรู้จัก AH 16 โครงข่ายทางหลวงเอเชีย พาดผ่านจ.พิษณุโลก

11257851_10201480330967268_6390250934807904983_oช่วงนี้เป็นช่วงที่พี่น้องประชาชนกำลังเดินทางใช่วงวันหยุดยาว ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ส่วนใหญ่ก็จะเดินทางโดยรถยนต์ และที่สำคัญต้องใช้ถนนเส้นทางต่าง ๆ แน่นอน แต่มีไม่น้อยที่ยังไม่ทราบว่าเครื่องหมายจราจรที่มีป้ายสี่เหลี่ยม สีน้ำเงิน ตัวอักษรภาษาอังกฤษสีขาว เขียนว่า AH ตามด้วยตัวเลขอาราบิค ติดอยู่คู่กับป้ายบอกเลขถนนทางหลวงของไทยประกอบตราครุฑ ปกติเราจะมองแบบผ่าน ๆ แต่วันนี้เราต้องทำความเข้าใจให้มากขึ้น เพราะมีความสำคัญมาก โดยเฉพาะหลังเปิดประชาคมอาเซียนแล้ว เช่น ในช่วงจังหวัดพิษณุโลก จะมีป้าย AH16 ติดอยู่ข้างถนนคู่กับป้ายถนนทางหลวงหมายเลข 1212976951_10201480330727262_7252711193250444915_o

นายวิโรจน์ จิรัฐิติกาลโชติ รองประธานหอการค้าไทย และประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคเหนือ กล่าวว่า เป็นป้ายบอกว่าถนนเส้นนี้ เป็นทางหลวงเอเชียสาย 16 หรือ AH16 ย่อมาจาก Asian Highway ที่ 16 เป็นถนนเครือข่ายทางหลวงสายเอเชียประเภทสายรอง ระยะทางรวม 1,031 กิโลเมตร เส้นทางแยกมาจากทางหลวงเอเชียสาย 2 และทางหลวงเอเชียสาย 1 ฝั่งตะวันตก ในจังหวัดตาก ประเทศไทย ผ่านประเทศลาว และสิ้นสุดในเมืองดองฮา จังหวัดกว๋างจิ ประเทศเวียดนาม โดยเชื่อมต่อกับทางหลวงเอเชียสาย 1 ฝั่งตะวันตกไปยังเมืองเว้ และเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม ซึ่งทางหลวงเอเชียสาย AH 16 นี้ ที่มีส่วนที่ผ่านประเทศไทย คือ จากชายแดนไทย-ลาว (มุกดาหาร) – กาฬสินธุ์ – ขอนแก่น – พิษณุโลก – สุโขทัย – ตาก รวม 688.5 กม.และถือว่าเป็นโครงข่ายทางหลวงเอเซีย ( Asian Highway Network ) ที่สำคัญในระดับทวีปเอเชีย และยังเป็นระเบียงเศรษฐกิจจากด้านตะวันออก – ตะวันตก ที่นานาชาติเขารู้จักกันดี เปรียบเสมือนเส้นเลือดสำคัญในการเชื่อมโยงของกลุ่มประเทศในอาเซียน ถือเป็นทางหลวงหลัก จริง ๆ เกิดขึ้นมาตั้งแต่ก่อนเปิดประชาคมอาเซียน ประโยชน์สำหรับประเทศไทยจะได้รับมากคือ ความสะดวกของต่างประเทศที่จะสามารถขับรถเข้ามาท่องเที่ยวได้ภายใต้เงื่อนไข การจราจรของประเทศนั้น ๆ จะเห็นได้จาก เริ่มมีรถยนต์จากเมืองจีนเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศกันบ้างแล้ว เป็นต้น12973500_10201480313406829_5455308561484896963_o

วัตถุประสงค์ของถนนเส้นนี้ เพื่อให้เป็นถนนทางหลวงสายเอเซีย ให้เกิดความร่วมมือกันพัฒนาการขนส่งระหว่างประเทศ เมืองอุตสาหกรรม ท่าเรือ สถานที่ท่องเที่ยวและแหล่งการค้าสำคัญ ๆ ซึ่งความร่วมมือดังกล่าวมีสมาชิก 17 ประเทศ เข้าร่วม ประกอบด้วยอัฟกานิสถาน บังคลาเทศ กัมพูชา อินเดีย อินโดนีเซีย อิหร่าน ลาว มาเลเซีย เนปาล ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา ไทย เวียดนาม จีน พม่า และมองโกเลีย โครงข่ายทางหลวงเอเชียมีระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 68,307 กม. จุดเริ่มต้นที่ทวีปยุโรป ซึ่งอยู่ทางด้านตะวันตกผ่านประเทศอิหร่าน เชื่อมโยงไปยังประเทศเวียดนามและฟิลิปปินส์ซึ่งอยู่ทางตะวันออก ประเทศอินโดนีเซียซึ่งอยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศศรีลังกา ซึ่งอยู่ทางด้านใต้ ซึ่งเส้นทางสายเอเชียที่ผ่านประเทศไทยมีทั้งหมด 12 สาย เป็นสายประธาน 3 สาย และสายรองอีก 9 สายประธาน ได้แก่ สาย AH 1 ,AH 2 และ AH 12 ดังต่อไปนี้12984022_10201480326847165_3751208300848845623_o

AH 1: บ.คลองลึก (ชายแดนไทย/กัมพูชา) – อรัญประเทศ – สระแก้ว – กบินทร์บุรี – ปราจีนบุรี – นครนายก – หินกอง – กรุงเทพ – อ่างทอง – สิงห์บุรี – ชัยนาท – นครสวรรค์ – กำแพงเพชร – ตาก – แม่สอด (ชายแดนไทย/พม่า) รวมระยะทาง 701.0 กม.

AH 2: สะเดา (ชายแดนไทย/มาเลเซีย) – บ.คลองแงะ – บ.คอหงส์ – บ.คูหา – พัทลุง – อ.ทุ่งสง – อ.เวียงสระ – อ.ไชยา – อ.ละแม – ชุมพร – อ.ท่าแซะ – อ.บางสะพานน้อย – ประจวบคีรีขันธ์ – อ.ปราณบุรี – อ.ชะอำ – เพชรบุรี –อ.ปากท่อ – นครปฐม – กรุงเทพ – อ. บางปะอิน – ตาก – อ.เถิน – ลำปาง –อ.งาว – พะเยา – เชียงราย – แม่สาย (ชายแดนไทย/พม่า) รวมระยะทาง 1,9130.0 กม.

AH 3: อ.เชียงของ (ชายแดนไทย/ลาว – บ.ต้าตลาด – บ.หัวดอย – เชียงราย รวมระยะทาง 116.5 กม.

AH 12: สะพานมิตรภาพไทย/ลาว – หนองคาย – อุดรธานี – อ.น้ำพอง – ขอนแก่น – อ.บ้านไผ่ – อ.พล – นครราชสีมา – อ.สีคิ้ว – อ.มวกเหล็ก – สระบุรี – หินกอง รวมระยะทาง 511.5 กม.

AH 13: ห้วยโก๋น (ชายแดนไทย/ลาว) – น่าน – แพร่ – อ.เด่นชัย – อุตรดิตถ์ – พิษณุโลก –อ.สามง่าม – นครสวรรค์ รวมระยะทาง 557.0 กม.

AH 15: นครพนม (ชายแดนไทย/ลาว) – บ.ธาตุนาเวง (สกลนคร) – อ.พังโคน – อ.สว่างแดนดิน – อุดรธานี รวมระยะทาง 242.5 กม.12961202_10201480331967293_6721771042607839380_o

AH 16: มุกดาหาร (ชายแดนไทย/ลาว) – อ.หนองสูง – อ.สมเด็จ – กาฬสินธุ์ – อ.ยางตลาด – ขอนแก่น – อ.น้ำหนาว – อ.หล่มสัก – บ.แยง – อ.วังทอง พิษณุโลก – สุโขทัย – ตาก รวม ระยะทาง 688.5 กม.

AH 18: อ.สุไหงโกลก (ชายแดนไทย/มาเลเซีย) – อ.ตากใบ – นราธิวาส – อ.สายบุรี – อ.ปาลัด – ปัตตานี – อ.หนองจิก – อ.เทพา – อ.จะนะ – อ.หาดใหญ่ รวมระยะทาง 268.0 กม.

AH 19: อ.ปักธงชัย – อ.กบินทร์บุรี – อ.แปลงยาว – ชลบุรี – กรุงเทพ รวมระยะทาง 459.5

AH 112: อ.คลองลอย – อ.บางสะพาน รวมระยะทาง 29.0 กม.

AH 121: อ.มุกดาหาร – อำนาจเจริญ – ยโสธร – อ.สุวรรณภูมิ – อ.พยัคฆภูมิพิสัย – บุรีรัมย์ – อ.นางรอง – อ.ส้มป่อย – บ.ช่องตะโก รวมระยะทาง 458.5 กม.

AH 123: บ.น้ำพุร้อน (ชายแดนไทย/พม่า) – กาญจนบุรี – นครปฐม – กรุงเทพ – สมุทรปราการ – ชลบุรี – แหลมฉบัง – มาบตาพุด – ระยอง – อ.แกลง – ชลบุรี – ตราด – อ.หาดเล็ก รวมระยะทาง 747.5 กม12377576_10201480331487281_9056555298008149521_o

อย่างไรก็ตามความสำคัญชองถนนเอเชียนี้ เริ่มมีมากขึ้นตั้งแต่เริ่มเปิดประชาคมอาเซียน ซึ่งรถยนต์จากต่างประเทศได้เริ่มเข้ามาใช้เส้นทางนี้กันมากขึ้น สิ่งหนึ่งนอกจากได้เพียงทราบว่าเป็นถนนสายเอเชีย และมีความสำคัญอย่างมากในด้านต่าง ๆ แล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องมีความระแวดระวัง ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ ที่จะตามมาจากการใช้รถใช้ถนน ต่อให้เป็นถนนระดับใดๆ สำคัญมากขนาดไหน ก็ตามแต่ หากเราใช้รถใช้ถนนอย่างประมาทแล้ว ก็จะเกิดอุบัติเหตุ และสูญเสียได้เหมือนกัน12957475_10201480332087296_481423634468217808_o

……………………..

ขอบคุณภาพ-ข่าวโดยคุณสุรเชษฐ์   มากร

แสดงความคิดเห็น