ราคายางตกต่ำพิษณุโลกยังกระทบไม่มาก

พิษณุโลกมีพื้นที่ปลูกยางกว่า3แสนไร่ แต่ยังเปิดกรีดยางในปริมาณไม่มาก

วันที่ 10 มกราคม 2555 นายสมศักดิ์ ทองศิริ ประธานเครือข่ายยางพาราจังหวัดพิษณุโลกและรองประธานเครือข่ายยางพาราภาคเหนือตอนล่าง เปิดเผยว่า สถานการณ์การประท้วงยางพาราตกต่ำ
จนชาวสวนยางพาราภาคใต้ต้องออกโรงประท้วงรัฐบาลนั้น สถานการณ์ขณะนี้ จะกระทบกับเกษตรกรสวนยางของภาคเหนือตอนล่างหรือไม่นั้น คงไม่กระทบหนัก  เพราะเกษตรกรชาวสวนยางพิษณุโลกยังเป็นน้องใหม่ และส่วนใหญ่ก็ขายขี้ยาง ไม่ได้ทำยางแผ่นรมควันเหมือนภาคใต้ ราคายางตกต่ำนั้นย่อมมีผลกระทบคนพิษณุโลกแน่ แต่ชาวสวนภาคใต้นั้นมีผลกระทบหนักกว่ามาก เพราะเศรษฐกิจทางภาคใต้นั้น ขึ้นอยู่กับสินค้ายางพาราล้วนๆ

 

สำหรับสวนปาล์มน้ำมันนั้น ผลกระทบน้อยกว่าเพราะมีเพียงแค่เจ้าของสวนปาล์มกับแรงงานไม่กี่คนหากเทียบกับอุตสาหกรรมยางพารา มีผลกระทบวงกว้างเพราะเกี่ยวข้องกับผู้กรีดยางจำนวนมาก ดังนั้นเมื่อราคายางพาราตกต่ำคนใต้จำเป็นต้องประท้วง เดือดร้อนทั้งเจ้าของสวนและคนกรีด เรียกง่ายๆว่ากระทบทั้งระดับบนและระดับล่างสวนยางพาราภาคเหนือตอนล่างพบว่า ยังมีพื้นที่เปิดกรีดน้อย

ขี้ยาง หรือยางดิบ ผลผลิตจากสวนยางพาราในจ.พิษณุโลก

สวนยางพาราใจพิษณุโลกและภาคเหนือตอนล่าง หลายแห่งยังไม่เปิดรีดแต่ละพื้นที่ของสวนยางมักแบ่งกันระหว่างเจ้าของสวนและคนกรีด สัดส่วน60:40 กับ50:50ขึ้นอยู่กับข้อตกลงการดูแลสวนและใส่ปุ๋ย แต่รายได้ของเกษตรกรหรือคนกรีดยางฯในภาคเหนือตอนล่างไม่ได้ขึ้นอยู่สินค้ายางพาราเพียงอย่างเดียว แต่สำหรับคนกรีดยางภาคใต้ เชื่อว่า รายได้หดหายลดฮวบแต่กลุ่มที่เดือดร้อนหนักกว่า ก็คือ กลุ่มสหกรณ์ที่ซื้อยางเก็บเอาไว้รับรองว่า ขาดทุนหลายแห่ง เพราะยางรมควันก็มีสิทธิ์เสีย

 

ประธานเครือข่ายยางพาราจังหวัดพิษณุโลก บอกอีกว่า เพื่อเป็นการช่วยเหลือพี่น้องทางใต้ ผมได้เตรียมนัดเครือข่ายยางพาราในจังหวัดพิษณุโลกรวมตัวประชุมเร็วๆพร้อมติดต่อเครือข่ายยางพาราทางภาคเหนือตอนล่างอีกครั้ง แต่ล่าสุดสถานการณ์ยังไม่สามารถบอกว่าออกมาประท้วงเรื่องราคายางพาราเหมือนภาคใต้หรือไม่

แสดงความคิดเห็น