ดีเบทผู้ชิงนายกอบจ.

เวลา 10.00 น.วันที่ 29 ตุลาคม 2555 ที่หอประชุมบึงราชนก อ.วังทอง จ.พิษณุโลก คณะกรรมการการเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก ได้จัดเวทีแสดงวิสัยทัศน์เชิงสมานฉันท์ เลือกตั้งนายกอบจ.พิษณุโลก 18 พฤศจิกายน 2555 โดยเชิญผู้สมัครนายกอบจ.พิษณุโลก ทั้ง 5 ราย มาแสดงวิสัยทัศน์รายละ 15 นาที ให้ประชาชนทั่วไปและสื่อมวลชนทำข่าวเผยแพร่ รวมถึงบันทึกเทปเพื่อเผยแพร่ในเว็ปไซด์ของอบจ.พิษณุโลก โดยนายอาคม  ตรีเจิญ ปลัดอบจ.พิษณุโลก ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำอบจ.พิษณุโลก ได้ทำหนังสือเชิญผู้สมัครทั้ง 5 ราย พร้อมมอบคำถามให้ผู้สมัครเหมือนกัน ล่วงหน้า เป็นแนวทางในการแสดงวิสัยทัศน์ครั้งนี้ ได้แก่ ให้แนะนำประวัติส่วนตัว มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาเมืองพิษณุโลกในวาระ 4 ปีอย่างไร มีเรื่องใดมีความสำคัญและจำเป็นต้องดำเนินการเร่งด่วน และเปิดโอกาสให้เชิญชวนประชาชนให้มาเลือกตนเอง

 

สำหรับวันนี้ มีผู้สมัครนายกอบจ.พิษณุโลก มาร่วมแสดงวิสัยทัศน์ 4 ราย โดยอบจ.พิษณุโลก ใช้วิธีให้ผู้สมัครจับสลากเรียงลำดับขึ้นพูดดังนี้ ลำดับที่ 1 นายมนต์ชัย  วิวัฒน์ธนาฒย์ ลำดับที่ 2 นายราม  ตันรัตนวงศ์ ลำดับที่ 3 น.ส.วีรี  ฐิติปุญญา ลำดับที่ 4.นายเรืองฤทธิ์  ศิริสวัสดิ์ ส่วนนายธวัชชัย  กันนะพันธุ์ ผู้สมัครนายกอบจ.พิษณุโลกอีกราย ไม่ได้มาร่วมเวทีแสดงวิสัยทัศน์ในวันนี้

 

มนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์

นายมนต์ชัย  วิวัฒน์ธนาฒย์ ผู้สมัครนายกอบจ.พิษณุโลก หมายเลข 3 กล่าวว่า ตนเป็นคนพิษณุโลก เกิดที่พิษรุโลก เรียนหนังสือที่พิษณุโลก รร.อนุบาลพิษณุโลก รร.พิษณุโลกพิทยาคม ป.ตรีม.กรุงเทพ ป.โทนิด้า และเข้าสู่ถนนการเมืองได้ 16 ปีแล้ว เป็นกำนันต.สมอแข ช่วงปี 2539-2543 เป็นส.ส.ช่วง 2548-2553 นับแต่เข้าสู่ถนนการเมืองมา ได้เห็นว่าพิษณุโลกได้รับการดูแลเอาใจใส่จากอบจ.มากน้อยแค่ไหน การมาทำงานอบจ.พิษณุโลก ต้องเข้าใจสภาพบริบทของพิษณุโลก รู้จักพี่น้องประชาชนคนพิษณุโลก มีความผูกพัน ประชาชน ต้องรู้จักผู้นำที่เลือกเข้าไปด้วย

 

นายมนต์ชัย กล่าวต่อว่า ถ้าเป็นนายกอบจ.พิษณุโลก จะเข้าไปพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนให้ดี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ ควรได้รับโอกาสจากอบจ.พิษณุโลกที่มีงบประมาณปีละ 700 ล้านบาท สุขภาพประชาชนต้องดีถ้วนหน้า เมืองพิษณุโลกเป็นศูนย์กลางของการรักษาพยาบาล แต่ยังขาดแคลนเครื่องไม้เครื่องมือไปดูแล และขาดการส่งเสริมการออกกำลังกาย ด้านสิ่งแวดล้อม  อนาคตเมืองพิษณุโลกจะมีการลงทุนอีกมาก เทศบาลนครพิษณุโลกก็ดำเนินการเรื่องพัฒนาสวนสาธารณะและระบบกำจัดขยะ แต่ที่ผ่านมาก็แทบไม่เพียงพอ ตนจะผลักดันให้มีการสร้างศูนย์กำจัดขยะส่วนรวมของจังหวัดพิษณุโลก ที่อปท.ขนาดเล็ก สามารถมาใช้ร่วมกันได้ การส่งเสริมการท่อเที่ยว ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม ต้องการผลักดันให้เกิดขึ้นในพิษณุโลก ในครั้งนี้ ในฐานะหัวหน้าคณะพลังพิษณุโลก ได้ส่งสจ.ลงสมัครทั้ง 30 เขต การประสานความร่วมมือกับทุกระดับ ในอดีตตั้งแต่ตนเป็นกำนันและเป็นส.ส. ไม่เคยได้คุยกับอบจ.พิษณุโลกเลย แต่ถ้าตนเป็นนายกอบจ.พิษณุโลก จะประสานการพูดคุยกับผู้แทนทุกระดับ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ส.ส. นายกอปท. เพื่อกำหนดแผนพัฒนาบ้านเมืองให้ตรงกับความต้องการ ด้านการศึกษา จะจัดมีครูอย่างครบครันในระดับประถมศึกษา ขณะที่นร.ชั้นม.6 จะมีศูนย์ติวเตอร์บริการ เพื่อเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา

 

ราม ตันรัตนวงศ์

นายราม  ตันรันตวงศ์ ผู้สมัครนายกอบจ.พิษณุโลกหมายเลข 1 กล่าวว่า ตนเป็นสจ.พิษณุโลกมา 3 สมัย และเป็น

รองนายกอบจ.พิษณุโลกมา 2 สมัย บ้านเกิดที่ต.หัวรอ จบการศึกษารร.อนุบาลพิษณุโลกและไปเรียนต่อที่รร.อำนวยศิลป์พระนคร รร.บดินเ

ดชาสิงหเสรณี และไปเรียนต่อด้านการตลาดระดับอนุปริญญาที่ประเทศสิงคโปร์ และมาเรียนจบจบป.ตรีที่ม.ราชฏพิบูลสงคราม ปริญญาโทนิด้า เป็นสจ.สมัยแรกเมื่อปี 2538 การจะบริการงานในตำแหน่งนายกอบจ.พิษณุโลกนั้น ต้องรู้เราก่อน อบจ.พิษณุโลกมีข้าราชการพนักงานเท่าไหร่ มีงบประมาณเท่าไหร่ รู้จักพื้นที่ประชาชนทั้ง 9อำเภอ เมื่อออกพื้นที่แล้ว ทำให้ทราบว่า หากตนเป็นนายกอบจ.พิษณุโลก จะดำเนินการด้านโครงสร้างพื้นฐานเป็นลำดับแรก โดยเฉพาะเรื่องน้ำสำคัญที่สุด หลายแห่งยังขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภคอย่างมาก รองลงมาเป็นเรื่องถนนและระบบไฟฟ้า

 

นายราม กล่าวต่อว่า ในวาระ 4 ปี ของนายกอบจ.พิษณุโลก อยากทำให้เมืองพิษณุโลกเป็นศูนย์กลางด้านยุทธศาสตร์ที่สำคัญของประเทศไทย จะบูรณะพระราชวังจันทร์ ทำให้สมศักดิ์ศรีบ้านเกิดของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จะประสานงานกับจังหวัด ส.ส. หอการค้า สภาอุตสาหกรรม สมาคมธุรกิจท่องเที่ยว ในการประสานทิศทางให้พิษณุโลกเป็นหนึ่งในการเป็นเมืองศูนย์กลางสี่แยกอินโดจีน และอยากผลักดัน ให้เกิดการค้าชายแดนไทย-ลาว ที่บ้านร่มเกล้า อ.ชาติตระการ จ.พิษณุโลก เริ่มต้นจากจุดผ่อนปรนก่อน เริ่มจากการสานสัมพันธ์ระหว่างประชาชนสองประเทศ

 

วีรี ฐิติปุญญา

น.ส.วีรี  ฐิติปุญญา ผู้สมัครนายกอบจ.พิษณุโลก หมายเลข 4 กล่าวว่า ตนเป็นหัวหน้ากลุ่มพิษณุโลกพัฒนา ที่ส่งผู้สมัครสจ.ลงเลือกตั้งพร้อมกันไปด้วย เป็นบุตรสาวของนายสุรินทร์  ฐิติปุญญา อดีตส.ว.พิษณุโลก อดีตนายกอบจ.พิษณุโลกสมัยที่ผ่านมา จบการศึกษาป.ตรี ม.อัสสัมชัญ และปริญญาโทรัฐศาสตร์ม.รามคำแหง มีประสบการทำงานบริงานธุรภิจครอบครัว ทั้งโตโยต้าและนิสสันพิษณุโลก  และตลอด 4 ปี ที่นายสุรินทร์  ฐิติปุญญา เป็นนายกอบจ.ตนก็มาทำงานทางการเมือง เป็นเลขานุการนายกอบจ.พิษณุโลก จากประสบการณ์ภาคธุรกิจและงานการเมือง ถ้าเป็นนายกอบจ.พิษณุโลก เชื่อมั่นว่าสามารถบริหารงานได้ตามความพึงพอใจสูงสุดของประชาชน

 

น.ส.วีรี กล่าวถึงนโยบายว่า จะทำด้านโครงสร้างพื้นฐาน เช่น 4 ปีที่นายสุริทร์ ได้บริหารงานอบจ.พิษณุโลกมา ได้ทำถนนสายยุทธศาสตร์วังทอง-ชาติตระการ ล่นระยะทาง 70 กม. จะสานนโยบายด้านนี้ต่อ ด้านสาธารณสุข ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถช่วยเหลือตนเองได้ จัดตั้งกองทุนฟื้นฟูสมรรณภาพให้ผู้สูงอายุประกอบอาชีพได้ ด้านการศึกษา 4 ปีที่ผ่านมา ได้จัดงบประมาณสนับสนุนโรงเรียนทุกอำเภอปีละ 40 ล้านบาท ตนจะเข้ามาสานต่อนโยบายนี้ ด้านกีฬา จะปรับปรุงสนามกีฬาในความดูแลของอบจ.พิษณุโลก ด้านการท่องเที่ยว จะพัฒนาบึงราชนก ให้เป็นสวนสาธารณะที่ใหญ่ที่สุดในพิษณุโลก สนับสนุนการจัดกีฬาทางน้ำ สร้างกิจกรรมแอดเวนเจอร์ ท่องเที่ยวผจญภัย ด้านการเตรียมการรับเปิดประชาคมอาเซียน จะเปิดศูนย์ภาษาสอนภาษาจีน-อังกฤษ ในการคำศัพท์ง่าย ๆ เพื่อเจราจาทางธุรกิจ และจัดศูนย์จำหน่ายสินค้าโอท็อปทุกอำเภอ

 

เรืองฤทธิ์ ศิริสวัสดิ์

นายเรืองฤทธิ์  ศิริสวัสดิ์ ผู้สมัครนายกอบจ.พิษณุโลก หมายเลข 2 กล่าวว่า ตนเป็นคนพื้นเพที่บ้านทรัพย์ไพรวัลย์ ต.แก่งโสภา อ.วังทอง แต่ปัจจุบันได้ย้ายบ้านมาอยู่ที่ ต.สมอแข อ.เมืองพิษณุโลก จบป.โทม.เกริก เคยเป็น สจ.มา 3 สมัย เป็นรองนายกอบจ. 2 สมัย ที่ผ่านมา อบจ.พิษณุโลก มีงบประมาณมาก ตลอดวาระนายกอบจ.พิษณุโลก มีงบประมาณร่วม 4,000 ล้านบาท ในอดีตที่ผ่านมา มีนายกอบจ.มาจากการเลือกโดย สจ. 3 ราย และเลือกตั้งจากประชาชนโดยตรง 2 ราย แต่การใช้งบประมาณโดยเฉพาะด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวกลับทำได้เฉพาะพาคณะต่าง ๆ ไปศึกษาดูงานด้านการท่องเที่ยวที่อื่น ๆ การส่งเสริมการท่องเที่ยวพิษณุโลกขาดการดูแลอย่างจริงจัง

 

นายเรืองฤทธิ์ กล่าวต่อว่า ต้องการเข้ามาบริหารด้านการศึกษา โดยเฉพาะโรงเรียนกีฬาอบจ.พิษณุโลกที่อ่อนแออย่างมาก จำทำโรงเรียนกึ่งสาธิตอบจ.พิษณุโลกกระจายทั้ง 9 อำเภอ สนับสนุนครู อาจารย์เก่ง ๆ ในระดับมหาวิทยาลัยเข้าไปสอน การพัฒนาแหล่งน้ำอุปโภค-บริโภค และช่วยเหลือภัยแล้ง จะใช้วิธีตั้งงบประมาณด้านน้ำมันโดยอบจ.พิษณุโลกเอง พร้อมประสานเครื่องจักรจากกองพลพัฒนาที่ 3 เพื่อช่วยพื้นที่ประสบภัยแล้ง อดีตที่ผ่านมา อบจ.พิษณุโลกมีเครื่องจักร พร้อมออกไปช่วยเหลืออบต.ต่าง ๆ แต่ต้องให้อบต.เหล่านั้นตั้งงบประมาณด้านน้ำมันเอง และจะดูแลเรื่องเงินเดือนอสม.ที่อบจ.พิษณุโลกรับผิดชอบไม่ให้ล่าช้า จะพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวบึงราชนกให้ยิ่งใหญ่ ด้วยการประสานงบประมาณจากส่วนกลาง

 

 

แสดงความคิดเห็น