มน.จับมือมอนซานโต้ทดลองปลูกข้าวโพดGMO

DSC_0205วันที่ 20-21 กุมภาพันธุ์ 2556 ที่โรงแรมท็อปแลนด์พลาซ่า อ.เมือง จ. พิษณุโลก ศาสตราจารย์ ดร.สุจินต์ จินายนอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้กล่าวเปิดการประชุมและบรรยายพิเศษเรื่อง”ความสำเร็จในการพัฒนาพันธุ์ข้าวข้าวของไทย” โดยให้มูลและความรู้เรื่องการดัดแปลงพันธุธรรมสายพันธุ์ NK 603
ในแปลงทดลองที่เตรียมเกิดขึ้นบึงราชนก อ.วังทอง จ.พิษณุโลก หลังมหาวิทยาลัยนเรศวรร่วมมือทางวิชาการกับบ.มอนซานโต้ไทยแลนด์เพื่อวิจัยและพัฒนา โดยครั้งนี้ อยู่ในขั้นตอนรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เชิญชาวบ้านจำนวน 60 คนและนักวิชาการ 30 คนและเจ้าหน้าที่รัฐอีก 20 คนร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็นเพื่อรับทราบข้อมูลและร่วมเสนอความติดเห็นต่อการดำเนินงานโครงการโดยมี นายเคร็ค ดันน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัทมอนซานโต้ จำกัดผศ.ดร.ชนินทร์ อัมพรสถิร คณบดีคณะเกษตรฯม.นเรศวร, ผศ ดร.วิภา หอมหวนอ.ภาควิชาวิชาเกษตรฯ มน., ผศ.ดร.จตุรพร รักษ์งาน อ.เกษตรฯ ม.นเรศวรและดร.บุญญานาถ นาถวงษ์ผู้อำนวยการฝ่ายรัฐกิจบริษัทมอนซานโต้ไทยแลนด์จำกัด ขึ้นเสวนา และตอบข้อซักถาม กรณีประชาชนที่ไม่เห็นด้วยa

 

ศ.ดร.สุจินต์ จินายน อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวว่ากรมวิชาการเกษตรกับ ม.เกษตรศาสตร์ เคยมีการทดลองเมล็ดข้าวโพดเมื่อ 60 ปีที่ผ่านมา ข้าวโพดดั้งเดิมก็ไม่ใช่พันธุ์ไทย เมล็ดพันธุ์มาจากหลายประเทศ ผ่านการคัดเลือกพันธุ์ โดย ม. เกษตรศาสตร์หลายปีที่ผ่านมาก็เคยมีการประท้วงมีทั้งการผสมพันธุ์ระบบเปิดและผสมข้ามสายพันธุ์ปัจจุบันการส่งออกเมล็ดพันธ์มูลค่า 3,800 ล้านบาทถือว่า มากที่สุด
และยืนยันว่า มีความหลากหลายและพัฒนาสายพันธุ์ของเมล็ดข้าวโพดแหล่งสร้างเมล็ดข้าวโพดมานานแล้ว แต่อนาคตจะต้องมีสถานีวิจัยที่มาตรฐานสมบูรณ์เกษตรกรควรใช้แต่พันธุ์ข้าวโพดดี ๆ
ปัจจุบันมีเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด  4 สายพันธุ์และลูกผสม 3 สายพันธุ์นักวิทยาศาสตร์จะต้องคิดค้นอยู่ตลอดเวลา เพราะว่าการใช้ทรัพยากรที่ผ่านมาเริ่มหมดไป จึงต้องมีการเพิ่มผลผลผิตและปรับปรุงแก้ไขปัญหา แมลงหรือศัตรูพืชจะต้องทำอย่างไรให้ผลิตผลข้าวโพดเพียงพอ อีกทั้งเป็นการลดต้นทุนการผลิตc

นักวิชาการต้องคิดถึงเรื่องข้าวโพดก้าวทันโลก หากข้าวโพดผสมในสายเดียวกัน จะทำให้เกิดการอ่อนแอ ฉะนั้น อาจต้องปิดหูปิดตาบ้าง เพื่อผสมข้ามสายพันธุ์ นักวิชาการจะต้อมีความคิด มีความรู้
และลึก ทราบถึงพันธุกรรม ยีนส์ และดีเอ็นเอ เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดจะต้องรู้ให้หมดว่า สายพันธุ์ใดต้านโรคหรือมีคุณสมบัติเด่นทุกปีไทยต้องเผชิญกับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงถ้าหากไม่มีการพัฒนาด้านวิชาการ แล้วเราข้าวโพดไทยจะยืนอยู่ตรงไหนการปลูกข้าวโพดสักครั้ง จะต้องซื้อจากต่างประเทศ ย่อมส่งผลให้ต้นทุนแพงวันนี้ประเทศไทยล้าหลังต่างประเทศกว่า 20 ปีไทยหนีไม่พ้นต่อการตัดต่อพันธุกรรม ทั่วโลกมีการสื่อสารรวดเร็ว อนาคตมนุษย์ทั่วโลก อาจมีหน้าตาเหมือนกันก็ได้ ไม่ต่างเช่นเดียวกับการเจริญด้านพันธุ์พืชอาหารก็ต้องวิวัฒนาการไปเหมือนๆกันด้วย วันนี้ไทยซื้อลิขสิทธิ์ มะละกอจีเอ็มโอ แต่เป็นสายพันธุ์อ่อนแอมีไวรัสคุกคาม เคยทดลองปลูกและกลับถูกประชาชนต่อต้านที่ จ.ขอนแก่น ทำให้ต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ มะละกอจากต่างประเทศเนื่องจากการพัฒนาสายพันธุ์ที่ จ.ขอนแก่นชะงัก ดังนั้นหากไทยจะเป็นครัวไทยสู่ครัวโลก โรค จะต้องก้าวหน้าไม่หยุดนิ่งเพราะมีการเปลี่ยนแปลงของโรคไม่หยุดนิ่งเช่นกัน หากไม่มีการพัฒนาคุณภาพพันธุ์ข้าวโพด ทานต่อโรค ผลผลิตจะออกมาต่ำสร้างความเสียหาย ดังนั้น ม.นเรศวร จะต้องเตรียมความพร้อมเข้าสู่อาเซียนประเทศไทยจะต้องแข็งแกร่ง คณะเกษตรศาสตร์มองเห็นและเปิดใจกว้างb
เพื่อเตรียมรับมือกับสิ่งข้างหน้า

“ฉะนั้นโครงการดัดแปลงพันธุธรรมสายพันธุ์ NK 603 จะต้องรับรองจาก ครม.และรับรองจากประชาชน เพื่อให้ครม.อนุมัติ เราจะต้องทำอย่างไรก็ได้เปลี่ยนคำว่า ไม่เป็นคำว่า ได้ เปลี่ยนแปลงคำสั่ง เพื่อความมั่นคงอาหาร”ดร.สุจินต์ ม.นเรศวร กล่าวและว่าการโครงการนี้ ขอให้ประชาชนยอมรับ เพราะเป็นแค่การทดลอง ใช้พื้นที่แค่ 5ไร่ ของบึงราชนก ถ้าผ่าน ครม.อนาคตจะต้องพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดอีกมากนำไปสู่มาตรฐานการผลิต ปัจจุบัน ถั่วเหลืองก็นำเข้าจากประเทศจีนถือเป็นสายพันธ์ จีเอ็มโอ และใช้มาแล้ว 10 ปี ผลกระทบก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น
การทดลองครั้งนี้ เพื่อทดสอบว่า ต้านทานกับยาฆ่าหญ้าอย่างไรคิดว่าไม่น่ามีผลกระทบอะไรมาก เบื้องต้นใช้เวลาทดลอง 7เดือนและหลังจากนั้น 3 เดือน จะพิจารณาดูในพื้นที่ว่า เป็นอย่างไรยืนยันจะเริ่มเดินหน้า เมษายน ถึง ตุลาคม ปี 2556 หากเป็นไปตามแผนf

ดร.บุญญานาถ นาถวงษ์ผู้อำนวยการฝ่ายรัฐกิจ บริษัทมอนซานโต้ไทยแลนด์กล่าวว่า  โครงการนี้มีความสำคัญในการผลิตและส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตเมล็ดพันธุ์เพราะประเทศไทยมีความพร้อมด้านภูมิประเทศ มีความยอดเยี่ยมเมล็ดพันธุ์เตรียมก้าวสู่ AEC และถ้าหากก้าวสู่ไปจุดจริงๆ
ก็จะเป็นศูนย์กลางผลิตเมล็ดพันธุ์ของโลก และคนมองว่า เป็นผลงานระดับโลกฉะนั้นจะต้องส่งเสริมอย่างไรให้คนไทยใช้เทคโนโลยีผลผลิตข้าวโพดไทยก้าวสู่มูลค่า 1 แสนล้านบาท รายได้ตกอยู่กับประชาชน
3,600 ล้านบาทต่อปี เฉพาะการส่งออก 4 พันล้านบาทและใช้ข้าวโพดหมุนเวียนในประเทศ 1.4 พันล้านบาท และแปรรูปอาหาสัตว์อีก 5หมื่นล้านบาท

ทั้งนี้ข้าวโพดจีเอ็มโอประสพความสำเร็จมาแล้วใน 19 ประเทศและหากโครงการนี้ผ่าน จะถือเป็นโครงการนำร่อง หากรัฐบาลสนับสนุนเพราะมีข้อประโยชน์คือ สารเคมีและแข่งขันกับประเทศอื่นได้d

รศ.ดร.จวงจันทร์ ดวงพัตรา นายกสมาคมเมล็ดพันธุ์แห่งประเทศไทย อภาควิชาพืชไร่ ม.เกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ถั่วเหลือง จีเอ็มโอรับประทานต่อเนื่อง 10 ปีมาแล้ว โครงการดัดแปลงพันธุธรรมสายพันธุ์ NK 603
มองว่า เป็นการต่อต้านและเป็นเรื่องของการกีดกันทางการค้าส่วนกลุ่ม”กรีนพีช”ก็ได้เงินมหาศาล เพื่อต่อต้าน คัดค้าน สำหรับตนเองเห็นด้วยกับการทดลองเพราะเป็นความรู้ข้อมูลข่าวสาร ก่อเกิดความชัดเจน
เพื่อให้เกิดความปลอดภัย  มอนซานโตใช้เวลานานนับปีเพื่อพัฒนาสายพันธุ์ถ้าได้ทดลองถือว่า เป็นครั้งแรกของประเทศไทย ที่ผ่านกฎหมายและพืชอีกหลายชนิดจะใช้ช่องทางนี้ในการลงทะเบียนพัฒนาสายเมล็ดพันธุ์ต่างๆ อาทิ มะเขือ มะระกอฯลฯ

 

อย่างไรก็ตาม กลุ่มเอ็นจีโอที่ต่อต้านการทดลองข้าวโพดจีเอ็มโอ ระบุว่า การทดลองปลูกข้าวโพดพันธุ์ NK 603 ในแปลงทดลองเปิด นำเชื้อที่ต่อต้านยาฆ่าหญ้ามาใส่ในพันธุ์ข้าวโพดทดลองปลูกข้าวโพดที่ทนทานต่อยาฆ่าหญ้าราว์อัพ ที่เป็นของมอนซานโต้ ผู้ได้รับประโยช์คือบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ นอกจากนี้ หากมีการปนเปื้อนของข้าวโพดจีเอ็มโอไปสู่แปลงข้าวโพดของชาวบ้าน จะส่งผลกระทบอย่างมากเพราะประเทศไทยจัดเป็นประเทศที่ส่งออกข้าวโพดฝักอ่อน/หวานเป็นอันดับต้นๆของโลก และตลาดอียูเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญหากพบว่ามีข้าวโพดเหล่านี้ปนเปื้อนกับข้าวโพดจีเอ็มโอย่อมมีผลกระทบการส่งออก

 

แสดงความคิดเห็น