มน.รับเป็นที่ปรึกษาจัดการขยะให้อบต.สมอแข

20130925_090331ที่มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก นายปริญญา ปานทอง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร และ ว่าที่ ร.ต.โยธิน บุญมาก ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลสมอแข ปฏิบัติหน้าที่นายกส่วนตำบลสมอแข ร่วมลงนามข้อตกลงการจัดทำโครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการขยะมูลฝอย และออกแบบรายละเอียดสถานีขนถ่ายและบำบัดขยะมูลฝอย เพื่อการใช้ประโยชน์ ขององค์การบริหารส่วนตำบลสมอแข อำเมือง จังหวัดพิษณุโลก ณ อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยนเรศวร ทั้งนี้มหาวิทยาลัยนเรศวรจะเป็นผู้ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาโครงการในระยะเวลารวมทั้งสิ้น 300 วัน (10 เดือน) ในการศึกษาปัญหา การบริหารจัดการขยะมูลฝอย การนำเสนอมาตรการป้องกันและการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมถึงการจัดตั้งศูนย์จัดการขยะมูลฝอยอย่างครบวงจร ให้กับองค์การบริหารส่วนตำบลสมอแข อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก เพื่อการบริหารจัดการขยะอย่างยั่งยืนให้กับชุมชน  DSC_0028                         

ขณะที่ ที่ห้องประชุม 741 ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก นายบุญธรรม  เลิศสุขีเกษม รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลกเป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของจังหวัดพิษณุโลก โดยการประชุมในครั้งนี้จังหวัดพิษณุโลกโดยสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดได้เชิญองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งเทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดเข้าร่วมประชุมเพื่อร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาการจัดการขยะในพื้นที่ เนื่องจากในขณะนี้ปริมาณขยะทั้งจังหวัดได้เพิ่มขึ้น โดยมีปริมาณขยะที่ต้องกำจัดวันละกว่า 500 ตัน ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งเทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่รับผิดชอบนำไปกำจัด ซึ่งปัญหาเกิดจากการนำขยะไปกำจัดนอกเขตพื้นที่รับผิดชอบโดยกำจัดไม่ถูกวิธี ทั้งในบ่อของตนเองและบ่อของเอกชน ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากมลพิษทั้งเรื่องกลิ่น น้ำเสีย ขยะที่ร่วงหล่นรายทาง และอื่นๆ และมีการปิดบ่อขยะทั้งของเทศบาลและของเอกชนหลายแห่งทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 20 แห่ง ที่อยู่ในเขตเมืองได้รับผลกระทบในการจัดการขยะและได้มีการประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเมื่อเดือนกันยายน ที่ผ่านมา โดยในการประชุมในครั้งนี้คณะกรรมการได้ร่วมกันพิจารณาแนวทางการจัดการขยะ ทั้งในระยะเร่งด่วน เช่น ปรับปรุงบ่อฝังกลบขยะของเอกชนที่มีอยู่  ให้เทศบาลหรือองค์การบริหารส่วนตำบลจัดหาที่ทิ้งขยะในเขตพื้นที่ของตนเอง และจัดหาที่ทิ้งขยะของเทศบาล หรือองค์การบริหารส่วนตำบลใกล้เคียงที่สามารถรองรับได้ ส่วนในระยะสั้นหรือระยะยาว ต้องเร่งหามาตรการลดปริมาณขยะที่แหล่งกำเนิด 3 Rs ยกระดับการคัดแยกขยะให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สนับสนุนภาคเอกชนร่วมลงทุนกำจัดขยะ จัดหาสถานที่ วิธีการกำจัดขยะที่ถูกหลักสุขาภิบาลในพื้นที่ของตนเองหรือร่วมกันระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ใกล้เคียง จัดหาแหล่งเงินทุน เทคโนโลยี สนับสนุนการกำจัดขยะที่เหมาะสมต่อไปDSC_0370 (Custom)

1779

แสดงความคิดเห็น