จัดมหกรรมควายยักษ์เมืองสองแควพัฒนาสายพันธุ์เพิ่มมูลค่าควายไทย

0001วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2559 ปศุสัตว์จังหวัดพิษณุโลกได้จัดงานมหกรรมควายยักษ์เมืองสองแคว ครั้งที่ 1 ณ  ตลาดอ.ต.ก. ( องค์การตลาดเพื่อการเกษตร จ.พิษณุโลก ( ทุ่งทะแลแก้ว ) ต.พลายชุมพล อ.เมือง จ.พิษณุโลก มีนายวิทูรัช  ศรีนาม รองผวจ.พิษณุโลก เป็นประธานในพิธีเปิดงาน ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 27-28 กุมภาพันธ์ 2559 เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกษตรกรหันมาให้ความสนใจในการพัฒนาอาชีพการเลี้ยงกระบือ หรือ ควาย ให้มากขึ้น 0009

0010ภายในงานมีการจัดกิจกรรมหลากหลายเกี่ยวกับควายไทย ได้แก่ การประกวดกระบือประเภททั่วไป และการประกวดทายาทกระบือหลวง ชิงเงินรางวัลพร้อมด้วยเกียรติยศและสายสะพาย ซึ่งได้รับความสนใจจากเกษตรกรในจังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดในภาคเหนือนำควายไทยเข้าร่วมประกวดจำนวนมาก บรรยากาศการประกวดได้รับความสนใจจากผู้มาเข้าชมอย่างมาก ด้วยเป็นการนำควายที่เลี้ยงไว้ให้ตรงตามลักษณะดี มีความสมบูรณ์มาร่วมประกวด ขณะที่การจูงควายเข้าประกวดก็คล้ายคลึงกับการประกวดสัตว์เลี้ยงทั่วไป ผู้จูงควายต้องแต่งกายชุดสุภาพ ส่วนใหญ่ใส่ชุดคาวบอย อีกทั้ง มีสุภาพสตรีหนึ่งเดียวจากจังหวัดพิจิตร ที่มาเดินจูงควายให้คณะกรรมการพิจารณาตัดสินให้คะแนนด้วย0002

0006โดยก่อนพิธีเปิดงานมหกรรมควายยักษ์ เมืองสองแคว ครั้งที่ 1 นายเนตร  ศรีทา ปราชญ์ชาวบ้านจากจังหวัดแพร่ ได้ทำพิธีบายศรีสู่ขวัญให้ควาย เป็นพิธีกรรมโบราณที่เกษตรจะทำให้กับควายที่ตนเองเลี้ยง เพื่อรำลึกถึงบุญคุณของควาย ที่ได้ให้คนได้ใช้แรงในการทำเกษตรกรรม และได้ใช้ในการอุปโภค พร้อมกับมีการโชว์ควายบิ๊กไซด์ หรือ ควายตัน ควายไทยที่มีขนาดใหญ่น้ำหนักตัวมากกว่า 1 ตันขึ้นไป โดยนายสมบัติ  ทำละเอียด นายกสมาคมอนุรักษ์และพัฒนาควายไทย เจ้าของบิ๊กไอซ์ฟาร์มควายไทย ที่เลี้ยงพัฒนาสายพันธุ์ควายตัน ได้จูงเจ้าใบหยก ควายไทยเพศผู้อายุ 7 ปี น้ำหนักตัว 1,200 กิโลกรัม มูลค่าตัวถึง 5 ล้านบาท จูงให้ผู้ร่วมงานได้ชมด้วย0004

นายพิษณุ  ตุลยวณิชย์  ปศุสัตว์จังหวัดพิษณุโลก เปิดเผยว่า กระบือ หรือ ควายไทย เป็นสัตว์เลี้ยงที่มีความสำคัญต่ออาชีพเกษตรกร ในอดีตเคยใช้เป็นแรงงานงานในการเกษตร การใช้มูลเป็นปุ๋ยในไร่นา นอกจากนี้ เมื่อมีความจำเป็นก็สามารถขายควายเป็นรายได้อีกทางหนึ่งด้วย แต่จากข้อเท็จจริง การเลี้ยงกระบือของเกษตรกรได้ถูกละเลย จังหวัดพิษณุโลกจึงอนุมัติให้ปศุสัตว์จังหวัดพิษณุโลกดำเนินโครงการอนุรักษ์และพัฒนาควายไทย เพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานการเลี้ยงควายของเกษตรกร ส่งเสริมให้อนุรักษ์ควายไทย เนื่องจากจำนวนควายในปัจจุบันได้ลดลงมาก ทั้งจากการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรทดแทน ประกอบกับพื้นที่การเลี้ยงก็ลดลง เกษตรกรใช้พื้นที่ทำการเกษตรอย่างอื่นที่ให้ได้ผลตอบแทนดีเร็วกว่า สวนทางกับความต้องการบริโภคควายเพิ่มขึ้นทั้งในและต่างประเทศ และขาดการพัฒนาปรับปรังสายพันธุ์ จึงจัดงานมหกรรมควายยักษ์ เมืองสองแคว ครั้งที่ 1 ขึ้นมาก เพื่อเป็นการกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรหันมาให้ความสำคัญในการคัดเลือดปรับปรุงพันธุ์ควายไทย0008

0007นายสมบัติ  ทำละเอียด นายกสมาคมอนุรักษ์และพัฒนาควายไทย เจ้าของบิ๊กไอซ์ฟาร์มควายไทย ต.ทับยายเชียง อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก ฟาร์มที่เน้นพัฒนาสายพันธุ์ควายไทยขนาดบิ๊กไซด์ หรือ ควายตัน น้ำหนักต่อตัวมากกว่า 1,000 กิโลกรัม เปิดเผยว่า การจัดงานนี้ กลุ่มเกษตรกร จะได้เห็นควายขนาดบิ๊กไซด์ ที่ใหญ่ และ สวยงาม สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ด้วย กลุ่มเกษตรกร จะได้เรียนรู้ลักษณะสายพันธุ์ควายไทยที่ชัดเจนถูกต้อง ตามอุดมทัศนีย์ควายไทย  มีลักษณะสำคัญที่เป็นจัดสังเกต 5 แห่งด้วยกันคือ ตรงใต้คอเป็นบั้งสีขาว ต้องมีจุดแต้มบนใบหน้า มีข้อเท้าขาว มีอัณฑะและปลายลึงค์ที่ไม่หย่อนหยาน หนังและขนมีสีเทา เทาดำ หรือ เทาแดง0012

นายกสมาคมอนุรักษ์และพัฒนาควายไทย เผยต่อว่า ขณะนี้การพัฒนาสายพันธุ์ควายไทยที่นำหนักสูงสุดอยู่ที่ 1.2 ตัน หรือ 1,200 กิโลกรัม ในระยะ 5-10 ปีข้างหน้า เชื่อว่ายังสามารถพัฒนาทำน้ำหนักให้ได้มากขึ้น อาจจะถึง 1.5 ตันได้ เพราะขณะนี้มีกลุ่มเกษตรกร ที่เน้นในการพัฒนาสายพันธุ์ควายขนาดบิ๊กไซด์ นำพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ที่ขนาดใหญ่ หรือ หาน้ำเชื้อควายไทยสายพันธุ์ดีมาขยายพันธุ์และเรื่องอาหารการกินก็จะดูแลเป็นพิเศษ สามารถทำให้ควายตัวใหญ่ขึ้น และสวยขึ้น

………………………………………………………………………………………………………..

 

 

แสดงความคิดเห็น