ระบายน้ำท่วมขังในลุ่มน้้ำยมออกหมดแล้ว เริ่มปิดประตูน้ำเก็บไว้ทำนารอบต่อไป

วันที่ 28 พ.ย.60 นายชำนาญ  ชูเที่ยง ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษายมน่าน รายงานสถานการณ์น้ำในเขตโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษายมน่าน สชป.3 ปัจจุบัน ได้ระบายน้ำที่ท่วมขังในเขตลุ่มน้ำยมทั้งจ.สุโขทัยและจ.พิษณุโลกออกหมดแล้ว จากเดิม ที่เคยมีปริมาณน้ำท่วมขังจำนวน 500 ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะนี้ได้ระบายออกไปแล้ว 400 ล้านลบ.ม. และยังคงเหลือน้ำกักเก็บไว้ในคูคลองในพื้นที่ประมาณ 100 ล้านลบ.ม. เพื่อให้เกษตรกร ได้เตรียมการเพาะปลูกข้าวนางปรังต่อไป  เป็นไปตามแผนการดำเนินการ และเร็วกว่าแผนงานที่กำหนดไว้ ที่จะระบายออกให้แล้วเสร็จภายใน 30 พ.ย. และเริ่มลดการระบาย ใน ปตร.ต่างๆ เพื่อเก็บกักน้ำไว้เป็นน้ำต้นทุนในการเพาะปลูกข้าวฤดูนาปรัง

ปตร.บางแก้ว อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ระดับน้ำวันนี้ อยู่ที่ระดับ 38.72 ม.รทก. (ลดลงจากเมื่อวาน 31 ซม.) ต่ำกว่า Spillway – 0.98 ม. (สูงกว่าระดับเก็บกัก 0.22 ม.) ปริมาณน้ำไหลผ่าน 35.85 ลบ.ม/วินาที หมายเหตุ: ระดับน้ำเหนือ ปตร.บางแก้ว ที่ระดับ 38.50 ม.รทก. เป็นระดับเก็บกักน้ำในคลองส่งน้ำเป็นน้ำต้นทุน เพื่อเตรียมการส่งน้ำในฤดูนาปรัง.
สำนักงานชลประทานที่ 3 ได้บริหารจัดการน้ำ ในภาพรวม โดยยังคงควบคุมการระบายน้ำให้เหมาะสม. เขื่อนสิริกิติ์ ปริมาณน้ำเก็บกัก 8,523 ล้าน ลบ.ม (89.62 %) ระบาย 4.20 ล้าน ลบ.ม/วัน , เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน ปริมาณน้ำ 940.02 ล้าน ลบ.ม.(100.11 %) ระบาย 25 ลบ.ม/วินาที หรือ 2.16 ล้าน ลบ.ม/วัน และระดับน้ำเหนือเขื่อนนเรศวร ที่ระดับ 47.39 ม.รทก. และระบายน้ำจากแม่น้ำยมลงสู่แม่น้ำน่าน ที่ คลองผันน้ำ DR-2.8 ปิดการระบาย 0 ลบ.ม/วินาที และ DR-15.8 ระบาย 29 ลบ.ม/วินาที. -ในส่วนของการช่วยเหลือได้ดำเนินการนำเครื่องจักร-เครื่องมือ กรมชลประทาน เร่งซ่อมแซมฟื้นฟูถนนที่ได้รับความเสียหาย จากอุทกภัยในเขตชลประทาน ในเบื้องต้นเพื่อให้ประชาชนในพื่นที่สัญจรได้สะดวกระหว่างรองบประมาณในการซ่อมแซม
สรุปสถานการณ์ ปริมาณน้ำ และระดับน้ำท่วม เข้าสู่ภาวะปกติ เริ่มเก็บกักน้ำ ใน คลองส่งน้ำ และ ปตร.ต่างๆ ในเขตชลประทาน เกษตรกรในพื้นที่ มีความประสงค์ที่จะเก็บกักน้ำไว้เพื่อเป็นต้นทุนน้ำในฤดูนาปรัง เนื่องจากปัจจุบันระดับน้ำที่ท่วมขังไม่มีผลกระทบกับการสัญจร และเขตชุมชนทำให้ปริมาณน้ำที่จำเป็นต้องระบายออกลดลง จึงทำให้การระบายน้ำออกเร็วกว่าแผนที่วางไว้ และเริ่มให้เกษตรกรทำการเพาะปลูกข้าวฤดูนาปรัง ได้ตั้งแต่ ต้นเดือน ธันวาคม เป็นต้นไป ตามแผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งประจำปี 2560/61.

แสดงความคิดเห็น