ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 9 พิษณุโลกเชิญชวนบริจาคโลหิตตรวจเข้มสถานที่ปลอดเชื้อ COVID- 19

วันที่ 9 มีนาคม 2563  เทคนิคการแพทย์หญิง อุไรวรรณ บุญจันทร์  รักษาการหัวหน้าภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่  9 จังหวัดพิษณุโลกเปิดเผยว่า จากสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เริ่มส่งผลกระทบกับการบริจาคโลหิตภายในศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ และหน่วยเคลื่อนที่รับบริจาคโลหิต จากเป้าหมายที่ต้องได้รับโลหิตวันละ 2,000-2,500 ยูนิต ได้รับโลหิต ลดลงเฉลี่ยวันละ 1,400 ยูนิต ต่อเนื่อง 3 วัน อีกทั้งหลายหน่วยงานที่ได้นัดหมายล่วงหน้าในการจัดกิจกรรมบริจาคโลหิต แจ้งยกเลิกจ านวนมากเนื่องจากมีการเฝ้าระวังการเข้าพื้นที่เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ทำให้จำนวนการบริจาคโลหิตลดลง ต่อเนื่อง จนถึงขณะนี้ไม่ถึงวันละ 1,000 ยูนิต อยู่ในภาวะโลหิตสำรองไม่เพียงพอจ่ายให้กับโรงพยาบาลทั่วประเทศแล้ว

หากสถานการณ์เป็นเช่นนี้ต่อไป จะส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้โลหิตในการรักษาอย่างยิ่ง  ดังนั้น ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ จึงออกมาตรการสร้างความมั่นใจ ให้เป็นสถานที่ปลอดภัยจาก COVID-19 โดย ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายผู้ประสงค์บริจาคโลหิตและบุคคลภายนอกที่เข้ามาภายในอาคาร หากตรวจอุณหภูมิครั้งแรก  เกิน 37.5 °C ให้นั่งพักรอบริเวณสถานที่จัดไว้ประมาณ 10 นาที และจะวัดอุณหภูมิครั้งที่ 2 หากผ่านเกณฑ์ ให้เข้าสู่ภายในอาคาร หากไม่ผ่านเกณฑ์จะมีเอกสารคำแนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคต่อไป รวมทั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน หากไม่ผ่านเกณฑ์ จะให้พบแพทย์เพื่อวินิจฉัย และยืนยันว่าสามารถทำงานได้ตามปกติ หรือให้ลาหยุด พร้อมติดตั้งแอลกอฮอลล์เจลทั่วอาคาร เช่น บริเวณทางเข้า-ออกอาคาร และตามจุดต่างๆเพื่อให้ผู้บริจาคโลหิตท าความสะอาดมือ และจุดปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ และทำความสะอาดวัสดุอุปกรณ์ด้านการรับบริจาคโลหิตทั้งในสถานที่และหน่วยเคลื่อนที่ และวัสดุอุปกรณ์บนรถบริจาคโลหิตเคลื่อนที่ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ 70% alcohol ซึ่งสามารถทำลายเชื้อไวรัสได้ เช่น เตียงรับบริจาคโลหิต เครื่องชั่ง เขย่าถุงบรรจุโลหิต เครื่องรับบริจาคโลหิตเฉพาะส่วน เครื่องวัดความดัน ลูกบีบบริจาคโลหิต เป็นต้น และ Sodium hypochlorite ใช้ทำความสะอาด เครื่องชั่งน้ำหนัก และ พื้นทางเดินรถรับบริจาคโลหิต และทำความสะอาดพื้นห้องรับบริจาคโลหิต ห้องปฏิบัติการ ห้องผลิต ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ

ในส่วนพื้นห้องสำนักงานให้ใช้น้ำยาทำความสะอาดทั่วไปตามมาตรฐาน พร้อมทำความสะอาดบริเวณปฏิบัติงาน โต๊ะเก้าอี้ ปุ่มกดลิฟต์ และจุดสัมผัสร่วมต่างๆ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ 70% alcohol  เช่น โต๊ะลงทะเบียน กรอกประวัติคัดกรองเบื้องต้น ห้องรับบริจาคโลหิต พื้นที่สำหรับผู้บริจาคหลังบริจาคโลหิต   ราวบันได ราวบันไดเลื่อน เครื่องบันทึกเวลาเข้า-ออก บัตรจอดรถ เป็นต้น พร้อมเปลี่ยนผ้าคลุมตัวผู้บริจาคโลหิตผืนใหม่ทุกวัน ผู้บริจาคโลหิตชาย ไม่ต้องใช้ผ้าคลุม ส่วนผู้บริจาคหญิงที่สวม กระโปรงหรือต้องการใช้ผ้า ให้พับครึ่งผ้าและคลุมช่วงตัว ไม่คลุมเท้า และการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล สำหรับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านการรับบริจาคโลหิต ห้องปฏิบัติการทดสอบ พื้นที่ผลิต และพื้นที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ สำหรับพนักงานทำความสะอาด ให้สวมใส่ถุงมือตามความเหมาะสมของงาน มาตรการดังกล่าวครอบคลุมทั้ง ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ศูนย์รับบริจาคโลหิตทั่วประเทศ

 

นอกจากนี้ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ได้มีการออกมาตรการป้องกันการถ่ายทอดโรคติดเชื้อ COVID-19 ทางโลหิต โดยมีแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ เพื่อให้ผู้บริจาคโลหิตคัดกรองตนเองก่อนบริจาคโลหิต ป้องกันความเสี่ยงจากการได้รับเชื้อจากผู้บริจาคโลหิตไปสู่ผู้ป่วยรับโลหิต ผู้บริจาคโลหิตต้องตอบคำถามเกี่ยวกับสุขภาพตนเอง ตรงตามความเป็นจริง เช่น หากเป็นผู้ที่อาศัย หรือ เดินทางมาจากประเทศที่มีการระบาดของโรค COVID-19 หรือผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย ให้งดบริจาคโลหิต 4 สัปดาห์ ส่วนผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อ COVID-19 นับตั้งแต่ตรวจพบเชื้อและหายป่วยโดยไม่มีอาการใดหลงเหลืออยู่ให้งดบริจาคโลหิต 3 เดือน เป็นต้น

 

แสดงความคิดเห็น