มณฑลทหารบกที่ 39 ร่วมทุกภาคส่วน ซ้อมแผนจำลองผู้ประสบภัยทางน้ำ

เมื่อเวลา 10.00 น.ของวันที่ 25 มิถุนายน 2563 พลตรี ทวีศักดิ์ วงศ์ทวีทรัพย์  ผู้บัญชาการศูนย์บรรเทาสาธารณภัยมณฑลทหารบกที่ 39 เป็นประธาน การตรวจความพร้อมและซักซ้อมการบรรเทาสาธารณภัย (อุทกภัย) โดยการประสานความร่วมมือเพื่อปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัย  ณ สวนสุขภาพ ค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ร่วมกับ จังหวัดพิษณุโลก, กองพลพัฒนาที่ 3 , กองพลทหารราบที่ 4 , โรงพยาบาลค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก , องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก , เทศบาลนครพิษณุโลก, , ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 9 จังหวัดพิษณุโลก , เทศบาลตำบลอรัญญิก, หน่วยกู้ชีพ – กู้ภัย ในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก, ประชาชนจิตอาสาภัยพิบัติจังหวัดพิษณุโลก , นายอำเภอทั้ง 9 อำเภอของจังหวัดพิษณุโลก และ ส่วนราชการ หน่วยงานในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก นำกำลังพล พร้อมยุทโธปกรณ์ เครื่องมือของหน่วยมาตรวจ ฝึกซ้อมและสาธิตการใช้เครื่องมือในการปฏิบัติภารกิจร่วมกัน

สำหรับ การตรวจความพร้อมและซักซ้อมการบรรเทาสาธารณภัย (อุทกภัย) แบบประสานความร่วมมือนั้น ผู้บัญชาการศูนย์บรรเทาสาธารณภัยมณฑลทหารบกที่ 39  ริเริ่มการฝึกร่วม ระหว่าง หน่วยทหาร, หน่วยงานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของจังหวัดพิษณุโลก และชมรม/สมาคมกู้ภัยของเอกชน เพื่อให้เกิดความเข้าใจ “ โดยไม่ใช้งบประมาณ ”  เป็นการการฝึกซ้อมเต็มรูปแบบ (Full-scale Exercise: FSX)  เพื่อเป็นการเตรียมกำลังพล , เจ้าหน้าที่ , ยานพาหนะและเครื่องมือที่หน่วยมีอยู่ให้เกิดความพร้อมในการรับมือกับอุทกภัยที่เกิดขึ้น รวมถึงภัยพิบัติต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ อีกทั้งยังเป็นการ ประสานความร่วมมือในการปฏิบัติภารกิจการบรรเทาสาธารณภัย ในการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับความเดือดร้อนจากภัยพิบัติให้ได้รับความปลอดภัย และสามารถดำรงชีพอยู่ได้ พร้อมเพิ่มทักษะให้กับเจ้าหน้าที่และบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ในด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ฝ่ายทหาร พลเรือน และภาคประชาชน ในการสนับสนุนและการช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างมีประสิทธิภาพ

 

โดยในครั้งนี้ได้จัดการแสดงยุทโธปกรณ์และขีดความสามารถของหน่วยร่วมบูรณาการ โดยเฉพาะการจัดตั้งและการปฎิบัติในกองอำนวยการร่วม เพื่อให้หน่วยต่างๆ ทั้งหน่วยทหาร หน่วยงานภาครัฐ พลเรือน จิตอาสาภัยพิบัติ และภาคเอกชน ทราบขั้นตอนการปฎิบัติ และกำหนดเป็นรูปแบบเพื่อไม่ให้เกิดการสับสนระหว่างการปฎิบัติ ตลอดจนการสาธิตการช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยโดยการประสานความร่วมมือระหว่างทหาร ภาครัฐ และมูลนิธิ องค์กร ภาคเอกชน

 

ซ้อมแผน สาธิต การปฏิบัติในการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุ จมน้ำ, การข้ามลำน้ำด้วยเชือก, การส่งกลับผู้ป่วย เพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้เกิดความคุ้นเคยในการทำหน้าที่และการปฎิบัติงานร่วมกัน และการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบที่ชัดเจน ทำให้สามารถดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

 

//////////////

 

แสดงความคิดเห็น