อาจารย์ ม.นเรศวรไอเดีย  สร้างสรรค์ ศิราภรณ์จากกระดูกไก่ 1 เดียวในโลก

เมื่อเวลา 13.30 น.วันที่ 17 กันยายน 2563 ที่สำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร ต.ท่าโพธิ์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก ได้มีการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนนำเสนอสุดยอดผลงานการสร้างสรรค์ศิราภรณ์จากกระดูไก่ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ดนัยเรียบสกุล รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต และศิษย์เก่าสัมพันธ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นผู้สร้างสรรค์ศิราภรณ์จากกระดูกไก่ ที่นับได้ว่าเป็นผลงานศิลปะไทยร่วมสมัย ที่ผสมผสานความดั้งเดิมและปัญหาขยะที่เกิดกับสังคมนิยมบริโภคในปัจจุบันเสมือนการสร้างงานประณีตศิลป์ไทยที่ใช้บนศีรษะจากวัสดุที่มีคุณค่าต่ำสุดจากถังขยะผลงานนี้จะสื่อถึงการใช้ทรัพยากรให้เกิดคุณค่าสูงสุดกับชีวิตของตนเองและสังคมโลกในอนาคต

รองศาสตราจารย์ ดร.ดนัย เรียบสกุล ได้เปิดเผยว่าโครงการวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสาขาวิชาออกแบบสื่อนวัตกรรมคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เพื่อศึกษารูปทรงของกระดูกไก่ที่เหลือจากการรับประทาน สร้างสรรค์ ศิราภรณ์ไทยจากกระดูกไก่ ประเมินคุณค่าด้านวัฒนธรรมและการออกแบบ

อีกทั้งยังเป็นการสร้างแรงบันดาลใจในการลดขยะอาหารและใช้เศษอาหารได้อย่างคุ้มค่า โดยมีกระบวนการในการสร้างผลงานศิราภรณ์ไทยจากกระดูกไก่ โดยเริ่มจัดเก็บกระดูกไก่จากร้านอาหารท้องถิ่น โดยรอบมหาวิทยาลัยนเรศวร นำมาทำความสะอาดฟอกสี ฉลุและตัดให้ได้รูปตามต้องการ สำหรับเศษกระดูกที่เหลือจากการตัดจะถูกปั่นละเอียดแล้วอัดพิมพ์เป็นลายไทยขนาดต่างๆ ซึ่งขนาดเล็กสุดมีประมาณ 1 เซนติเมตร จำนวนมากกว่า 1000 ชิ้น ใช้ระยะเวลากว่า 2 ปีในการสร้างสรรค์ผลงานโดยประกอบด้วยศิราภรณ์ 3 ชิ้น คือ มงกุฎ รัดเกล้ายอด รัดเกล้าเปลว และเครื่องประดับส่วนอื่นของนางละครไทย

รองศาสตราจารย์ ดร.ดนัย เรียบสกุล ได้บอกต่ออีกว่า ส่วนแนวคิดในการถ่ายภาพเพื่อนำเสนอ นางละครนอก นักแสดงชายในอดีตสวมใส่ศิราภรณ์รูปแบบต่างๆนำเสนอผ่านนายแบบสีผิวต่างชนชาติ นำเสนอปัญหาขยะอาหารที่เกิดขึ้นกับทุกที่ทั่วโลก สวมใส่ผ้านุ่งและสไบโปร่งเสมือนความงดงามของสิ่งที่อยู่ภายในดังกระดูกที่เป็นวัสดุหลักในการสร้างสรรค์ผลงานในครั้งนี้

โดยในอนาคต อาจจะมีการจดสิทธิบัตร ในส่วนของขั้นตอนสัดสวน ของการทำ แต่จะไม่จดในเรื่องของการเผยแพร่ นำมาใช้แต่อย่างใด เนื่องจากต้องการจุดประกายให้ประชาชนทั่วไปมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ นำสิ่งของเราเหล่านี้มาพัฒนาเป็นสิ่งที่มีมูลค่าขึ้นได้ อีกทั้งจะมีการพัฒนาเรื่องการเก็บรักษาหรือต่ออายุของกระดูกให้ได้นานที่สุด เนื่องความคงทนต่อไป

/////////////////////////

 

แสดงความคิดเห็น