วันนี้ ( 14 ม.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาพิษณุโลก (มทร.พิษณุโลก) ต.บ้านกร่าง อ.เมือง จ.พิษณุโลก ดร.อุษณีย์ภรณ์ สร้อยเพ็ชร์ อาจารย์สาขาสัตวศาสตร์และประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาพิษณุโลก ได้ทำการเพาะเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่เพื่อพัฒนาพันธุ์และให้ไข่ที่ได้มาตรฐานสดใหม่และมีสีแดงตามที่ต้องการของท้องตลาด เพื่อเป็นการส่งเสริมและฝึกวิชาชีพให้แก่นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก ที่จบแล้วสามารถนำไปประกอบวิชาชีพได้ เบื้องต้นได้ทำการเลี้ยงไว้ทั้งหมด 663 ตัว มีไข่ไก่ที่สามารถเก็บได้งันละประมาณ 500 ฟอง
ดร.อุษณีย์ภรณ์ สร้อยเพ็ชร์ อาจารย์สาขาสัตวศาสตร์และประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาพิษณุโลก กล่าวว่า ทุกวันนี้ไข่ที่ออกจากไก่ที่เลี้ยงไว้เป็นที่ต้องการของของอาจารย์ ชาวบ้านรอบมหาวิทยาลัยฯ เพราะความที่ไข่จะสด ใหม่ และได้สีแดงตามต้องการ ทั้งนี้วิธีการเพาะเลี้ยงก็ไม่ยุ่งยากเพียงให้อาหารตามมาตรฐาน อีกทั้งใช้อาหารที่หาได้ในท้องถิ่น อาทิ ใบกระถิน ฟักทอง มาเลี้ยง ก็จะให้ได้ไข่ที่ได้มาตรฐานและสีตามที่ต้องการ พร้อมกันนี้ในยุคโควิดเช่นนี้การเลี้ยงไข่ตามบ้านเป็นเรื่องที่ดีเพราะนอกจากเลี้ยงง่ายโดยการนำวัสดุในพื้นบ้านอย่างไม้ไผ่มาทำเป็นโรงเรือนก็ได้ กันแดด กันฝน มีรางอาหารให้กิน เป็นแบบง่ายๆก็สามารถเลี้ยงได้อีกอย่างคือเรื่องอาหารไก่คืออาหารที่ตรงตามความต้องการของไก่ สามารถเอาใบกระถินหรือกากถั่วอะไรก็ได้ หรือรำ ที่สามารถหาได้ง่ายมาผสมให้ถูกส่วนก็สามารถทำอาหารไก่ได้ หรือสามารถสอบถามทางมหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนาพิษณุโลก ได้ซึ่งพร้อมให้คำปรึกษากับเกษตรกรหากต้องการเลี้ยง โดยเฉพาะในช่วงนี้ซึ่งเป็นยุคที่มีการแพร่ระบาดของโควิด ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ออกจากบ้าน ก็สามารถหาพื้นที่เลี้ยงไก่ไว้ภายในบ้านได้ ทั้งนี้เพื่อเป็นการประหยัดในครัวเรือนได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังมีคุณค่าทางโภชนาการที่สูง
ส่วนไข่ไก่ที่นำไปขาย ให้กับชาวบ้านนั้น อยู่ที่ไข่ไก่ เบอร์ 0 ราคาฟองละ 4 บาท เบอร์ 1 ฟองละ 3.50 บาท เบอร์ 2 ราคาฟองละ 3.20 บาท เบอร์ 3 อยู่ที่ฟองละ 3 บาท และ เบอร์ 4 ราคาฟองละ 2.50 บาท วันหนึ่งมีชาวบ้านและร้านอาหารตามสั่งในรอบๆ มหาวิทยาลัย ก็จะมาสั่งไปประกอบอาหารกันหมดทุกวัน เนื่องจากติดใจที่ไข่ที่ทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาพิษณุโลก ผลิตไข่ออกมาสด ปลอดสารเร่ง ทำให้ผลิตไข่ออกมาไม่เพียงตอต่อความต้องการของท้องตลาด
ดร.อุษณีย์ภรณ์ สร้อยเพ็ชร์ อาจารย์สาขาสัตวศาสตร์และประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาพิษณุโลก เปิดเผยอีกว่า นอกจากทางมหาวิทยาลัยฯ จะส่งเสริมและฝึกวิชาชีพเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่แล้ว ยังได้ทำการคัดสายพันธุ์ไก่ดำเชิงหวาย ซึ่งเป็นไก่ดำสายพันธุ์เคยู ภูพาน ที่ทางบ้านเซิงหวาย อ.พรหมพิราม นำมาเลี้ยงไว้เมื่อปี 2558 ที่ผ่านมา ด้วยความต้องการให้การเลี้ยงไก่ดำของที่นี่มีความเป็นอัตลักษณ์เฉพาะพื้นที่ จึงได้ขออนุญาตใช้ชื่อเรียกไก่ดำเซิงหวาย เป็นการบ่งบอกถึงอัตลักษณ์ในด้านของการเป็นแหล่งผลิตไก่ดำคุณภาพ ซึ่งทางมหาวิทยาลัยฯ ได้ทำการวิจัยในการพัฒนาสายพันธุ์ไก่ร่วมกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ มาแล้ว 4 รุ่น เพื่อพัฒนาสายพันธุ์ให้มีคุณภาพตามที่ต้องการของตลาดอีกด้วย
///////////////