พาหมอไปหาประชาชนเฉลิมพระเกียรติในหลวงที่อ.นครไทย

พิษณุโลก  พาหมอไปหาประชาชน เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนม์พรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 10.00 น.โรงเรียนบางยางพิทยาคม ตำบลบ้านแยง อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก นายแพทย์เชิดชัย ตันติศิริทร์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานพิธีเปิดโครงการ พาหมอไปหาประชาชน เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนม์พรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยมี นายแพทย์วิทยา พลสีลา รักษาการในตำแหน่งสาธารณสุขนิเทศ พร้อมด้วยผู้ร่วมงานให้การต้อนรับ

ตามที่กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์ และภาพอนาคตระบบสาธารณสุขไทย ยกระดับระบบบริการสาธารณสุขที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ นโยบายรัฐบาล และความต้องการด้านสุขภาพของประชาชน ลดความเหลื่อมล้ำในการรับบริการ ความแออัด และระยะเวลารอคอย การรักษาโดยเฉพาะโรงพยาบาลในเขตเมือง ตลอดจนโอกาสในการเข้าถึงบริการสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ห่างไกล และคุณภาพการบริการที่ประชาชนได้รับ

ในปีพ.ศ 2567 กระทรวงสาธารณสุขจึงมีนโยบายขับเคลื่อน โครงการพาหมอไปหาประชาชนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนม์พรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 เขตสุขภาพที่ 2 ณ จังหวัดพิษณุโลก ที่โรงเรียนนครบางยางพิทยาคม ตำบลบ้านแยง อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งเป็นตัวแทนพื้นที่ในการจัดกิจกรรมตามนโยบายดังกล่าว

โครงการนี้มีการจัดบริการหน่วยแพทย์เฉพาะทาง และจิตอาสาในพื้นที่ห่างไกล เพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยง และคัดกรองความเสี่ยงในโลกที่เป็น ปัญหาสำคัญของประเทศในการนี้โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชนครไทย ได้จัดกิจกรรมตามโครงการโดยมีการจัดบริการ 2 แห่ง รวมทั้งหมด 20 คลินิก แบ่งเป็นแห่งที่ 1 จำนวน 12 คลินิก ณโรงเรียนนครบางยางพิทยาคม ตำบลบ้านแยง ได้แก่ คลินิกสุขภาพจิต คลินิกหญิงวัยเจริญพันธุ์ คลินิกตรวจค้นหาไวรัสตับอักเสบบี-ซี คลินิกตรวจพบพยาธิใบไม้ในตับ-มาเลเรีย คลินิกคัดกรองมะเร็งตับมะเร็งท่อน้ำดี คลินิกคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง คลินิกกระดูกและข้อและขาเทียม คลินิกการใช้ยาอย่างสมเหตุผล คลินิกตรวจคัดกรองวัณโรคคลินิกคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและตรวจเต้านม คลินิกสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน คลินิกทันตกรรม แห่งที่ 2 ณ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชนครไทยจำนวน 8 คลินิก ได้แก่ คลินิกอัลตร้าซาวด์เต้านม คลินิกส่องกล้องลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง คลินิกอัลตร้าซาวด์มะเร็งตับ มะเร็งท่อน้ำดี คลินิกตรวจวินิจฉัยตาต้อกระจก คลินิกทันตกรรม คลินิกพัฒนาการเด็ก คลินิกตรวจรักษาจ่ายสมุนไพรและหัตถเวช ณ อาคารแพทย์แผนไทย และคลินิกตรวจรักษาโรคทั่วไป ณ อาคารผู้ป่วยนอก โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการครั้งนี้ประมาณ 3,000 คน แบ่งเป็นโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชนครไทย 1,000 คน และที่โรงเรียนนครบางยางพิทยาคมจำนวน 2,000 คน

แสดงความคิดเห็น