พิษณุโลก กรมชลประทาน ปฐมนิเทศโครงการ ประตูระบายน้ำท้ายเมืองพิษณุโลก สร้างในช่องทางลัด บริเวณศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 6 ตำบลงิ้วงามอำเภอเมือง ช่วยยกระดับแม่น้ำน่านในเมือง ให้สูงขึ้น 4-6 เมตร ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวในเมือง และ มีน้ำอุปโภคบริโภค พร้อมเพิ่มพื้นที่ชลประทานได้รับประโยชน์ 20,000 ไร่
วันที่ 30 ตุลาคม 2567 กรมชลประทาน โดยส่วนวางโครงการที่ 1 สำนักบริหารโครงการกรมชลประทาน พร้อมบริษัทที่ปรึกษา ได้จัด การประชุมปฐมนิเทศโครงการ ศึกษาความเหมาะสมและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมอาคารบังคับน้ำ ( เขื่อนท้ายเมืองพิษณุโลก )ในแม่น้ำน่าน ที่ออกแบบก่อสร้างบริเวณ ตำบล งิ้วงามอำเภอเมืองจังหวัดพิษณุโลก โดยจัดประชุมที่ อาคารศูนย์ประสานแผน อบจ. อำเภอเมืองพิษณุโลก มีนายบุญเหลือ บารมี รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลกเป็นประธานในพิธีเปิดประชุม
โครงการอาคารบังคับน้ำท้ายเมืองพิษณุโลก (เขื่อนท้ายเมืองพิษณุโลก เป็นการก่อสร้างในช่องลัด พื้นที่ก่อสร้างบริเวณ ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 6 จังหวัดพิษณุโลก ม.5 ต.งิ้วงาม อ.เมือง จ.พิษณุโลก ลักษนะเป็นอาคารบังคับน้ำ(ประตูระบายน้ำ) ในแม่น้ำน่าน หากดำเนินการแล้วเสร็จ จะสามารถเก็บกักน้ำเหนืออาคารได้ 30.79 ล้าน ลบ.ม สนับสนุนพื้นที่การเกษตรได้ประมาณ 20,000 ไร่ จะเป็นแหล่งน้ำสำหรับการอุปโภคบริโภคของราษฎร และใช้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และส่งเสริมการท่องเที่ยวริมฝั่งแม่น้ำน่านในเขตพื้นที่โครงการ ซึ่งหากดำเนินเก่าสร้างแล้วเสร็จจากกั้นแม่น้ำน่านด้านท้ายตัวเมือง ระดับน้ำในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก จะอยู่ในระดับสูงทรงตัว อยู่ที่ระดับประมาณ ประมาณ 4-6 เมตร ซึ่งจะอยู่ในเกณฑ์ปานกลางของระดับตลิ่งที่สูงประมาณ 11 เมตร โดยเฉพาะช่วงหน้าแล้งนั้นระดับน้ำแม่น้ำน่านในช่วงเทศบาลนครพิษณุโลกนั้นจะต่ำมากบางปีระดับน้ำอยู่ที่ 1 เมตรเลยทีเดียว
ทั้งนี้ กรมชลประทานได้ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมและประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น และจะมีประชุมกลุ่มย่อยอีก 2 ครั้ง ก่อนจัดประชุมปัจฉิมนิเทศน์ในปี 2568 เพื่อเตรียมความพร้อมในการขอตั้งงบประมาณก่อสร้างในปี 2569-2572 ซึ่งคาดว่างบประมาณ ในการก่อสร้างประมาณ 1,000 ล้านบาท
………