ชาวต.บ้านมุงค้านกำหนดแหล่งหินอุตสาหกรรมขอเก็บเขาหินปูนไว้เป็นแหล่งท่องเที่ยว

185476เวลา 09.00 น. วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2559 ที่เทศบาลตำบลบ้านมุง อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก มีการประชุมรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในตำบลบ้านมุง ต่อโครงการเหมืองแร่อุตสาหกรรมชนิดหินปูน ( เพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง ) ของบริษัท เจ.คอนสตรัคชั่น จำกัด ตามคำขอประทานบัตรที่ 1/2556 พื้นที่ 288 ไร่ ชี้แจงโดยอุตสาหกรรมจังหวัดพิษณุโลก และ การกำหนดแหล่งหินอุตสาหกรรมในพื้นที่ตำบลบ้านมุง อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก พื้นที่ 620 ไร่ และชี้แจงโดยอุตสาหกรรมจังหวัดพิษณุโลก โดยมีชาวบ้านในตำบลบ้านมุงม.1 ม.2 ม.3 ม.8 มาร่วมรับฟังและแสดงความเห็น12717770_1722891974594045_7914957274202889269_n

สรุปมติที่ประชุม ต่อโครงการเหมืองแร่อุตสาหกรรมชนิดหินปูน ( เพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง ) ของบริษัท เจ.คอนสตรัคชั่น จำกัด ตามคำขอประทานบัตรที่ 1/2556 พื้นที่ 288 ไร่ ชาวบ้านทั้งหมดที่เข้าร่วมประชุมคัดค้านไม่เห็นด้วย เพราะกระบวนการที่ผ่านมาชาวบ้านไม่รับรู้ข้อมูลข่าวสาร จึงเป็นกระบวนการที่ไม่ถูกต้อง ส่วนการกำหนดแหล่งหินอุตสาหกรรมในพื้นที่ตำบลบ้านมุง อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก พื้นที่ 620 ไร่ นั้น ชาวบ้านทั้งหมดคัดค้านไม่เห็นด้วยกับการขอกำหนดแหล่งหินอุตสาหกรรมในต.บ้านมุง เพราะการกำหนดแหล่งหิน เป็นขั้นตอนหนึ่งที่จะนำไปสู่การขอประทานบัตร ซึ่งชาวบ้านไม่เห็นด้วย ดังนั้นประชาชน ม.1-2-3-8 ต.บ้านมุง จึงมีมติไม่ให้หน่วยงานใดมากำหนด พื้นที่ตำบลบ้านมุงเป็นแหล่งหินอุตสาหกรรม และชาวบ้านต้องการรักษาทรัพยากรไว้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและรักษาไว้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม12705527_1722891997927376_4052699557765311914_n

อนึ่ง เมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2559  ที่ผ่านมา ตัวแทนชาวบ้าน หมู่ 3 บ้านใหม่สามัคคีธรรม ต.บ้านมุง อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก กว่า 100 คน ได้เดินทางมาเพื่อจะเข้าร่วมประชาคมรับฟังความคิดเห็นในการขอกำหนดแหล่งหินอุตสาหกรรม หลังจากที่สำนักงานเทศบาล ต.บ้านมุง ได้ทำหนังสือลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ถึง กำนัน ต.บ้านมุง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 3 และ หมู่ 8 ต.บ้านมุง ให้ดำเนินงานให้ความเห็นในการขอกำหนดแหล่งหินอุตสาหกรรมในพื้นที่ ต.บ้านมุง ของ บริษัท ศิลาพุคำจาน จำกัด และบริษัท เอสเอสซีเอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ภายใน 7 วันนับจากได้รับหนังสือ และรายงานผลการรับฟังความคิดเห็นให้เทศบาล ต.บ้านมุงทราบภายใน 3 วัน ซึ่งชาวบ้านหมู่ 3 และ หมู่ 8 จึงได้จัดประชาคมขึ้น เพื่อรวบรวมรายชื่อ ซึ่งส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย และไม่ต้องการให้มีการตั้งแหล่งหินอุตสาหกรรมในพื้นที่ เนื่องจากตามหนังสือที่ได้แจ้งมา พบว่า เป็นพื้นที่ป่าสงวนเกือบ 700 ไร่ บนเทือกเขาทุ่งแสลงหลวง และใกล้แหล่งชุมชนเพียง 300-400 เมตร โดยจะมีประชาชนได้รับผลกระทบใน 4 หมู่บ้าน ประมาณ 3,000 ราย จากมลพิษทางอากาศ ฝุ่นละออง และแหล่งทรัพยากรธรรมชาติจะถูกทำลาย ขณะที่โรงโม่หินแห่งเดิมกว่า 200 ไร่ ที่ดำเนินการมากว่า 20 ปี ยังไม่หมดสัมปทาน และได้มีการขอต่อใบอนุญาตสัมปทานไปแล้วเมื่อเดือนที่ผ่านมา12734078_1722892014594041_5303436512582752649_n

แสดงความคิดเห็น