เด็กไทยแห่เรียนมังคละ อนุรักษ์ศิลปดนตรีไทย

14273514_1278535798845541_320521639_oสืบเนื่องจากข่าวของคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (กวช.) จะเริ่มดำเนินการนโยบายส่งเสริมให้เด็กไทยทุกคน เล่นดนตรีไทยเป็น 1 ชนิด ภายใน 5 ปี โดยเตรียมหารือกับทางกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับ คาดว่าเริ่มออกนโยบายดังกล่าวนี้ ได้ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 นี้ ทางผู้ปกครองนักเรียนส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นเรื่องที่ดี เป็นการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีไทยให้คงอยู่ และเป็นการฝึกสมาธิเด็ก ทั้งยังได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ จึงสนับสนุนให้บุตรหลานหันมาเรียนดนตรีไทยกันมากขึ้น14315712_1278536082178846_923464228_o

โดยที่บ้านต้นกล้า ตั้งอยู่ที่ ต.ท่าโพธิ์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก ได้เปิดบ้านเป็นสถานที่รับสอนดนตรีไทยนานาชนิด ในช่วงวันหยุดและหลังเวลาเลิกเรียนของทุกวัน ครูตา หรือ นายสุวิทย์ ทองคำ ครูสอนดนตรีไทยบ้านต้นกล้า เปิดเผยว่า ในช่วงเย็นหรือในวันหยุด จะมีผู้ปกครองส่งเด็ก ๆ มาผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาเรียนดนตรีไทย ในจำนวนนี้ยังมีเด็กนักเรียน จำนวน 17 คน เป็นเด็กของโรงเรียนชุมชนบ้านกำแพงดิน จังหวัดพิจิตร ที่มีพื้นที่อยู่ติดกับจังหวัดพิษณุโลก เดินทางมาเรียนการรำมังคละ ในช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ขณะนี้สามารถรวมกลุ่ม ฝึกซ้อมการรำมังคละประกอบเครื่องดนตรีมังคละ จนมีความชำนาญสามารถรับการแสดงได้แล้ว14315888_1278536198845501_457351945_o

เด็กหญิงนลินรักษ์ เกตุศรี นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 บอกว่า “มีความภูมิใจ เพราะเราได้อนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นบ้านของเรา เราได้ความสามัคคีกัน ใช้ช่วงลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ในการฝึกซ้อม อยากให้เพื่อน ๆ อนุรักษ์วัฒนธรรมของเรา การรำพื้นบ้านมีความสนุกสนานดีค่ะ”

นายสุวิทย์ ทองคำ หรือ ครูตา เล่าว่า “เราได้เล็งเห็นว่า มังคละที่เป็นดนตรีพื้นบ้าน กำลังจะสูญหายไป ดนตรีมังคละเป็นการร้อง เล่น เต้น รำ รวมกันอยู่ครบ ก็อยากอนุรักษ์วงดนตรีมังคละไว้ จึงได้ตั้งวงขึ้นมา และ ต้องการสร้างทักษะให้กับเด็กนักเรียน พอเราเอาเครื่องดนตรีเข้ามา เด็ก ๆ มีความสนใจ อยากเล่น สุดท้ายสามารถฝึกจนตั้งวงมังคละได้ ใช้เวลาประมาณ 2 เดือน ตอนนี้ก็รับงานได้แล้วครับ”14247749_1278535652178889_1758793124_o

ครูตา ยังบอกอีกว่า “สำหรับการเล่นดนตรีไทยเป็น 1 ชนิด ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 ของเด็กนั้น จริง ๆ มีน่าจะมีมานานแล้ว โดยกลุ่มนักเรียนที่มาจาก โรงเรียนชุมชนบ้านกำแพงดิน เด็กที่จบจะเล่นดนตรีไทยเป็น อย่างน้อยคนละ 1 ชิ้น ตามวัตถุประสงค์ของท่านรัฐมนตรี ทำให้เด็กมีสมาธิในการเรียน มีความสามัคคี มีจิตใจที่อ่อนน้อมลง ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ก็ดีครับอย่างให้สนับสนุนจริง ๆ และ อีกอย่างเป็นการสนับสนุนอาชีพให้กับนักเรียนที่จบมาทางด้านนี้โดยตรง ทุกวันนี้การสอน ใส่แต่สมองอย่างเดียว เราต้องใส่ทักษะชีวิตให้เด็กด้วย”14315896_1278535758845545_129610449_o

ทั้งนี้ มังคละ เป็นชื่อเรียกวงดนตรีพื้นบ้าน ที่มีลักษณะเป็นวงปี่กลองชนิดหนึ่ง ที่มีใช้เล่นกันอย่างแพร่หลายในจังหวัดพิษณุโลกเป็นเวลาช้านานมาแล้ว ในอดีตดนตรีมังคละเป็นวงดนตรีที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคนในสังคม และ มีบทบาทสำคัญทั้งในด้านการประกอบพิธีกรรม ตลอดจนด้านความบันเทิง เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ มีวิธีการเล่นที่เป็นแบบฉบับของตนเองมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ด้วยระบบเสียง ลักษณะจังหวะที่มีลีลา ครึกครื้น สนุกสนาน รุกเร้าใจเป็นอย่างยิ่ง ดนตรีมังคละจึงมีความผูกพันกับวิถีชีวิตของชาวภาคเหนือตอนล่างมาช้านาน.

…………………..

แสดงความคิดเห็น