ปี 2563 ภัยแล้งรุนแรง น้ำยมเริ่มแห้งขอด เจาะบ่อบาดาลกลางแม่น้ำดึงน้ำเข้านา

สถานการณ์ภัยแล้งเริ่มรุนแรงและจะยาวนานต่อเนื่องในปี 2563 แม่น้ำยมอ.บางระกำ จ.พิษณุโลกเริ่มแห้งขอด ไร้น้ำจากเหนือมาเติม ชาวนาหลายรายต้องเจาะบ่อบาดาลกลางแม่น้ำยมเพื่อสูบน้ำเข้านา ขณะที่แอ่งน้ำที่ยังคงเหลืออยู่เป็นช่วง ๆ ก็กำลังถูกสูบขึ้นมาหล่อเลี้ยงนาข้า

31 ธันวาคม 2562 สถานการณ์ภัยแล้งจะรุนแรงต่อเนื่องไปถึงครึ่งปี 2563 ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่สำรวจแม่น้ำยม อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ขณะนี้สภาพของแม่น้ำยมเริ่มแห้งขอด ไร้น้ำจากตอนบนมาเติม บางช่วงเป็นทรายทอดยาว บางช่วงจะยังคงมีน้ำขังอยู่เป็นแอ่ง ๆ ที่เต็มไปด้วยเครื่องสูบน้ำของชาวนาในอ.บางระกำ ที่กำลังระดมติดเครื่องเพื่อดึงน้ำขึ้นไปหล่อเลี้ยงนาข้าว ขณะที่ชาวนาอีกจำนวนมาก ต้องลงมาเจาะบ่อน้ำบาดาลกลางกลางแม่น้ำยม เพื่อสูบน้ำขึ้นมาใช้ เป็นสถานการณ์ภัยแล้งในใกล้เคียงกับปี 2558 ที่แม่น้ำยมอ.บางระกำ อยู่ในสภาพแห้งขอด

ขณะที่ลำน้ำสาขาในลุ่มน้ำยม ได้แก่ คลองบางแก้ว  ( แม่น้ำยมสายเก่า ) และคลองวังแร่ คลองเกตุ คลองกล่ำ ในต.ท่านางงาม ต.ชุมแสงสงคราม อ.บางระกำ ยังคงมีน้ำเหลืออยู่ในลำน้ำ แต่สภาพลำคลองกำลังจะเริ่มแห้งขอดในเดือนมกราคม 2563 เพราะริมคลอง ก็เต็มไปด้วยเครื่องสูบน้ำของชาวนาที่สูบน้ำดึงขึ้นไปใช้ในนาข้าวอายุประมาณ 1 เดือนที่กำลังเริ่มตั้งท้อง

ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่ แม่น้ำยมช่วงสะพานชุมแสงสงคราม ม.1 ม. 2 ต.ชุมแสงสงคราม อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ที่รับน้ำต่อเนื่องมาจากอ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย ขณะนี้คงเหลือน้ำขังอยู่เป็นแอ่งบางช่วงเท่านั้น สามารถลงไปเดินกลางแม่น้ำยมได้เลย และพื้นที่ต่อเนื่องลงมาจากต.ชุมแสงสงคราม ต.ท่นางงาม และ ต.บางระกำ จะพบเห็นการติดตั้งเครื่องสูบน้ำกลางแม่น้ำยมตลอดลำน้ำ เป็นบ่อบาดาลที่ชาวนาอ.บางระกำ ได้ลงทุนว่าจ้างมาเจาะไว้กลางแม่น้ำยมเมื่อหลายปีก่อน

นายวันชัย   ดอกทับทิม  อายุ 57 ปี  บ้านเลขที่38/3 ม.1 บ้านบางบ้า ต.ชุมแสงคราม อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก เปิดเผยว่า ปีนี้สถานการณ์ภัยแล้งเหมือนกับช่วงปีที่แล้งรุนแรงปี 2558 ครั้งนั้น แม่น้ำยมก็แห้งสนิท เราก็เข้าใจดี เพราะชลประทานได้ออกประกาศ ติดป้ายเตือนมาตลอด ว่าน้ำในเขื่อนมีไม่เพียงพอ ไม่สามารถปล่อยน้ำลงมาช่วงพื้นที่ทำนาได้ ชาวนาในอ.บางระกำ จึงต้องช่วงเหลือตัวเอง โดยการเจาะบ่อบาดาลกลางแม่น้ำยม หรือ สูบน้ำจากแอ่งน้ำที่เหลืออยู่ บางคนก็ลงทุนติดตั้งเครื่องสูบน้ำจากพลังงานแสงอาทิตย์กับบ่อบาดาล แต่ส่วนใหญ่แล้ว จะใช้เครื่องสูบน้ำที่ใช้น้ำมันและไฟฟ้า ซึ่งเป็นต้นทุนที่ต้องยอมเสียค่าไฟฟ้า ค่าน้ำมัน เพราะลงทุนปลูกข้าวไปแล้ว ชาวนาบางคนทำนาจำนวนมากเป็น 100 ไร่ จำยอมต้องปล่อยบางแปลงให้ยืนต้นตายไป เพราะสูบน้ำไม่ไหว ขณะนี้ข้าวในพื้นที่ที่ปลูกช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม มีอายุเดือนกว่าแล้ว กำลังตั้งท้อง ต้องหล่อเลี้ยงด้วยน้ำตลอดจนกว่าจะออกรวง และจะเก็บเกี่ยวได้ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน 256

ทั้งนี้ ตามสะพาน ประตูน้ำ ในเขตอ.บางระกำ จ.พิษณุโลก โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษา ยมน่าน สำนักงานชลประทานที่ 3 ได้ติดประกาศ “งด “การส่งน้ำฤดูนาปรังปี 2562/2563 ในพื้นที่โครงการบางระกำโมเดลเนื่องจากปริมาณน้ำในเขื่อนไม่เพียงพอ พร้อมกับจัดรถกระจายเสียงแจ้งเตือนชาวนาก่อนหน้านี้แล้วว่าน้ำมีไม่เพียงพอ

……………………………………………………………

แสดงความคิดเห็น