นำร่องติดตั้งหอฟอกอากาศ แก้ปัญหา PM2.5 ที่แรกในพิษณุโลก

เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 23 มีนาคม 2566  ที่หน้าโรงพยาบาลพุทธชินราช อ.เมือง จ.พิษณุโลก นางเปรมฤดี  ชามพูนท นายกเทศมนตรีนครพิษณุโลก พร้อม ผช.ศาสตราจารย์พิสิฐ มณีโชติ อาจารย์คณะวิทยาลัยพลังงาน มหาวิทยาลัยนเรศวร และ นายเอกสิทธิ์ วันสม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยโซล่าเวย์ จำกัด  ตรวจสอบการติดตั้ง หอฟอกอากาศอัจฉริยะ ใช้พลังงานแสงอาทิตย์และระบบควบคุมดูแลผ่านเทคโนโลยีไฮโอที เพื่อการลดฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ซึ่งเป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพในการฟอกอากาศ มากกว่าร้อยละ 90 และอัตราการฟอกอากาศ 5 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน และส่งเสริมให้เทศบาลนครพิษณุโลกเป็นเมืองสะอาด เป็นนครแห่งความสุข พร้อมก้าวสู่เมือง Smart City อีกทางหนึ่ง

ซึ่ง นางเปรมฤดี  ชามพูนท นายกเทศมนตรีนครพิษณุโลก กล่าวว่า เทศบาลนครพิษณุโลก ได้ร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยนเรศวร และภาคเอกชน ในการร่วมแก้ไขปัญหา ฝุ่น PM 2.5  โดยการติดตั้งติดตั้ง   หอฟอกอากาศอัจฉริยะ บริเวณศาลาที่พักผู้โดยสาร 2 แห่ง ได้แก่ ศาลาที่พักผู้โดยสารบริเวณต้านหน้าโรงพยาบาลพุทธชินราช และ ศาลาที่พักผู้โดยสารบริเวณต้นหลังวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) เพื่อเป็นการฟอกอากาศ ให้กับผู้รอรถโดยสาร และกินบริเวณพื้นที่ กว่า 100 ตารางวา ซึ่งในช่วงนี้พื้นที่ของเทศบาลนครพิษณุโลก มีปัญหาเรื่องเกี่ยวกับ PM2.5 เนื่องจากเมืองค่อนข้างเป็นแอ่งกระทะ ทำให้เกิด PM2.5 ปริมาณค่อนข้างมาก ซึ่งหากหอดังกล่าวทำงานได้ดี ก็จะมีการพัฒนาเป็นรถโมบายวิ่งไปตามจุดต่างๆเพื่อช่วยฟอกอากาศให้กับเมืองพิษณุโลก

ด้าน  นายเอกสิทธิ์ วันสม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยโซล่าเวย์ จำกัด  กล่าวว่า หอฟอกอากาศอัจฉริยะ ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส) พัฒนาหอฟอกอากาศ ร่วมกับมหาวิทยาลัยนเรศวร และเทศบาลนครพิษณุโลก เป็นพื้นที่นำร่อง ซึ่งหอฟอกอากาสเป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพในการฟอกอากาศ มากกว่าร้อยละ 90 และอัตราการฟอกอากาศ 5 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที ซึ่งในงานวิจัยนั้น ได้มาทำทดสอบจำนวน 2 แห่ง กระทั่งพบว่าหน้าโรงพยาบาลพุทธชินราชพิษณุโลก  และหลังวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร  ช่วงที่พักรอรถโดยสารประจำทาง  เนื่องจากพบ เป็นจุดที่มีค่าฝุ่นละอองหมอกควันสูงมาก  เป็นสีแดงมาโดยตลอด จึงได้นำผลงานการวิจัยเครื่องฟอกอากาศขนาดใหญ่ ที่ทำงานด้วยระบบม่านน้ำ และเทคนิคเสริมอีก 3 อย่าง  ทำการประดิษฐ์ ติดตั้งไว้ทั้ง 2 จุด ในราคาประมาณเครื่องละ  9 แสนบาท ครอบคลุมพื้นที่ฟอกอากาศประมาณ 100 ตารางเมตร  มีทั้งการดูดอากาศเสียเข้าไปฟอก แล้วปล่อยอากาศดีออกมา มีเครื่องวัดค่าของอากาศทั้งสองทาง แบบเรียลไทม์  โดยจะเปิดช่วงที่มีการจราจรแออัด มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนน๊อคไซด์สูง   เป็นการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางที่มานั่งรอรถโดยสารครั้งละนาน ๆ นับชั่วโมง  ให้สามารถสูดเอาอากาศดี เข้าไปในปอด แทนอากาศเสีย หากได้ผล จะขยายเป็นระบบฟอกอากาศติดรถโมบาย ตรงไหนมีปัญหาจะไปฟอกอากาศทันที

//////////////

 

แสดงความคิดเห็น