วิจัยปลูกผักใต้แสง LED พบคุณค่าทางยาสูง อาทิ แสงสีน้ำเงิน ให้วิตามินซี สูง

วันนี้ ( 23 มิ.ย.) รศ.ดร.ธรรมศักดิ์ ทองเกตุ คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก กล่าวว่า ปัจจุบันสังคมในเมืองมีมากขึ้น และมีแนวคิดว่า เราจะมาปลูกผักในเมือง และมีการพัฒนาในการปลูกพืชในเมือง ด้วยการอาศัยแสงเทียม และปัจจุบันหลอด LED มีมากขึ้นและมีคุณภาพเพียงพอที่จะปลูกพืชได้ และหลอดแต่ละหลอด ก็ให้แสง โมโนโทน แต่ละสีอยู่แล้ว เราก็สามารถนำมาผสมเป็นสีต่างๆได้ จึงได้ทำการวิจัย ผลิตพืชด้วยแสงเทียม  (Plant factory with artifcial lighting) ซึ่งเป็นการผลิตผักภายใต้สภาพแวดล้อมควบคุมและอาศัยพลังงานแสงจากหลอดแอลอีดี ช่วยให้สามารถควบคุมการเจริญเติบโตและคุณภาพของพืช ถ้าทำการทดลองดัดแปลงสีของแสงให้แตกต่างกับธรรมชาติออกไปพืชจะตอบสนองอย่างไร ซึ่งผลที่ออกมาพบว่า ไมโครกรีน ที่มีแสงสีเปลี่ยนแปลง ก็จะทำให้พืชมีความเจริญเติบโตเปลี่ยนไปด้วย และสาระสำคัญที่อยู่ในผัก ก็จะเปลี่ยนแปลงไปด้วย ช่วยให้สามารถควบคุมการเจริญเติบโตและคุณภาพของพืช และการสร้างสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ (bioactive compounds ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามิน เอ และชี สารฟินอลิก (phenolic compound) สารฟลาโวนอยด์ (avonoids) สารต่อต้านอนุมูลอิสระ และสารสำคัญเฉพาะตัวของผักชนิดนั้น เช่น สารกลุ่มกลูโคชิโนเลท ในพืชวงศ์กะหล่ำ สารกลุ่มแอนโทไซยานิน (anthocyanin) และแคโรที่นอยด์ (carotenoids) ในผักกินใบสีเชียวและสีแดง เป็นต้น

เบื้องต้นได้มีการทำวิจัยพืช 3 ชนิด ได้แก่ บล็อกเคอรี่  ผักร็อกเก็ต และกะหล่ำปม เราพบว่า ถ้าจะให้ลำต้นโตดี ก็ต้องให้แสงสีแดง ผลผลิตน้ำหนักดี ถ้าให้โคโลฟิวดี ต้องให้แสงสีขาว ถ้าต้องการวิตามินซี หรือสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ก็ให้แสงสีน้ำเงิน โดยได้ทำการวิจัยมามากกว่า  2 ปีแล้ว ซึ่งทางทีมวิจัยก็จะทำการวิจัยไปเรื่อยๆ เนื่องจากพบว่าแสงต่างๆ ตอบสนองต่อพืชผัก ไม่เหมือนกัน นอกจากนี้ผักเหล่านี้โตไวก็การปลูกตามธรรมชาติ สามารถนำมารับประทานได้ ตั้งแต่ 10 วันขึ้นไป    โดยผู้ใดสนใจต้องการสอบถามข้อมูล ก็สามารถโทรศัพท์สอบถามได้ที่  0814985959

 

///////////////

 

แสดงความคิดเห็น