ชลประทานแจ้งเตือนงดทำนาต่อเนื่อง เก็บน้ำใช้ฤดูแล้ง หวั่นแล้งระยะยาว

พิษณุโลก  กรมชลประทานแจ้งเตือน ขอความร่วมมือชาวนางดทำนาปีต่อเนื่อง หวั่นกระทบเป็นวงกว้างจากปริมาณน้ำกักเก็บ ที่มีไม่เพียงพอต่อการสนับสนุนครอบคลุมในทุกพื้นที่เกษตรกรของจังหวัดพิษณุโลก โดยเฉพาะนอกเขตชลประทาน ขณะที่เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน ล่าสุด กักเก็บน้ำได้เพียง 160.4 ล้าน ลบ.ม. หรือ เพียง 17 % เท่านั้น

วันที่ 23 สิงหาคม 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าโครงการชลประทานพิษณุโลก ได้เร่งประชาสัมพันธ์ ถึงเกษตรกร ชาวนา ขอความร่วมมือให้งดทำนาปีต่อเนื่อง เพราะปริมาณน้ำในปีนี้มีน้อย ฝนทิ้งช่วง และปริมาณน้ำฝนที่ตกนั้นต่ำกว่าเกณฑ์ถึง 30% หากเทียบกับสถิติ ในปีนี้เราจะแล้งกว่าปี 2562 ที่ผ่านมา โดยเฉพาะในพื้นที่นอกเขตชลประทาน

นายชำนาญ ชูเที่ยง ผู้อำนวยการโครงการชลประทานพิษณุโลก ได้กล่าวว่า สถานการณ์น้ำในปีนี้ค่อนข้างหน้าเป็นห่วง เนื่องจากปริมาณฝนน้อยมาก การปลูกข้าวนาปรัง ปีหน้ายังไม่ต้องคิด ตอนนี้ต้องดูก่อนว่าหลังจากทำนาปี ปีนี้แล้ว ปริมาณน้ำเหลือเท่าไหร่ แล้วค่อยมาคิดอีกทีว่าน้ำที่มีจะทำอะไร สถานการณ์ข้าวนาปี ในปีนี้ เฉพาะในเขตชลประทาน ข้าวนาปีในปีนี้ เรามีน้ำสนับสนุนเพียงพอในเขตชลประทาน ต่างๆ แต่นอกเขตชลประทานปีนี้ต้องอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก แต่ที่เป็นปัญหาหลักๆ ก็คือตั้งแต่ต้นฤดูฝนมา ฝนไม่ตกตามปกติฤดู คือไม่เป็นไปตามเกณฑ์ ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยเนื่องจาก ภาวะเอลนีโญ ทำให้ฝนน้อย ฝนที่ตกในพื้นทีในปีนี้คือตกน้อย และตกเป็นกลุ่มก้อนเล็กแต่หนัก แล้วก็หายไป และสถานการณ์น้ำฝนในปีนี้ ปริมาณฝนน่าจะ ต่ำกว่าเกณฑ์ค่าเฉลี่ยปกติประมาณ 30-40 % หากย้อนสถิติก็จะเทียบกับปี 2562

พื้นที่การเพาะปลูกของจังหวัดพิษณุโลกประมาณ 1.5 ล้านไร่ นอกเขตประมาณ 9 แสนไร่ ซึ่งขณะนี้นอกเขตกำลังเผชิญปัญหาคือฝนไม่ตกตามเกณฑ์ ฝนทิ้งช่วง คือถ้าฝนตกน้อยแต่ตกตลอดก็ยังดี แต่นี่ตกแล้วหาย ทำให้ปริมานน้ำฝนที่อยู่ในแหล่งน้ำมีไม่เพียงพอ ตอนนี้เริ่มมีผลกระทบ ในพื้นที่เนินมะปราง บางกระทุ่ม ที่เกษตรกรได้เริ่มหว่านข้าวไป ตรงนั้นน่ากังวลเพราะโซนน้ำไม่มีแหล่งน้ำที่จะสามารถสูบน้ำเข้านาได้

ดังนั้นขณะนี้เราก็เร่งพยายามแจ้งข่าวสารประชาสัมพันธ์ เพื่อให้เข้าถึงเกษตรกร ทุก พื้นที่ในเขตชลประทาน คือใครที่เพาะปลูกข้าวนาปีไปแล้วในปีนี้ ขอร้องให้ไม่ปลูกต่อเนื่อง แล้วก็ในเขตทุ่งบางระกำ 265,000 ไร่ หลังจากที่ปลูกตั้งแต่ 1 เมษายน ซึ่งต้องเกี่ยวภายใน 15 สิงหาคมที่ผ่านมา เพราะฉะนั้นในพื้นที่ทุ่งบางระกำก็ถือว่าเก็บเกี่ยวหมด 100% เพราะฉะนั้นแผนต่อไป คือต้องไม่ทำการเพาะปลูกต่อเนื่อง ต้องเตรียม ไว้เป็น เพื่อที่จะรองรับซึ่งหากว่า มีโอกาสเกิดอุทกภัย เราก็ยังมีโอกาสอยู่เนื่องจากว่า เราอาจจะมีอิทธิพลของพายุเข้ามา ประมาณ 1-2 ลูก ในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายนซึ่งเราก็ต้องเตรียมพื้นที่นี้ไว้รองรับน้ำ

ส่วนพื้นที่นอกเขตชลประทาน ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรได้ทราบ ในทุกพื้นที่ว่าใน การทำนาในปีนี้ ต้องอาศัยน้ำฝนเป็นหลักโดยเฉพาะต้องดูด้วยว่าแหล่งน้ำธรรมชาติ ด้วยตัวเอง มีไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูกใหม่ และไม่เพียงพอก็ต้องไปรอในช่วงฝน สม่ำเสมอ ซึ่งก็คาดว่าน่าจะประมาณ ปลายเดือนสิงหาคม ซึ่งปีนี้อาจจะทำให้การเพาะปลูกข้าวนาปี ในพื้นที่นอกเขต ชลประทานค่อนข้างที่จะล่าช้าออกไป เพราะฝนไม่ตกตามเกณฑ์ค่าปกติ

ปีนี้กรมอุตุนิยมวิทยาได้ ประกาศ เข้าสู่ฤดูฝน ตั้งแต่ 22 พฤษภาคม เป็นต้นมา ฝนต่ำ น้อยกว่าเกณฑ์ค่าเฉลี่ย แล้วถ้าดูจากค่าฝนสะสม ตั้งแต่ 1 มกราคม จนถึงปัจจุบัน มีเพียง 500 กว่ามิลลิเมตรเท่านั้นเอง ซึ่งค่าเฉลี่ยของพิษณุโลกโดยรวมต่อปี ประมาณ 1300 มิลลิเมตร แต่ ปีนี้เราคาดว่าหากสิ้นสุดฤดูฝน เราจะมีปริมาณฝนสะสม จริงๆ ไม่น่าจะถึง 900 มิลลิเมตร ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยประมาณ 30%

ดังนั้นปริมาณน้ำที่อยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติ ต่างๆ ก็จะน้อยตามไปด้วย โดยเฉพาะ ในปี กรมชลประทาน ก็คาดการณ์ ใน 4 เขื่อน หลักประกอบด้วย เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนภูมิพล เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เราคาดการณ์ว่าปีนี้จะมีน้ำใช้ ไม่เกิน 7000 ล้าน ลบ.ม. ถ้าเราเทียบเคียงก็เหมือน ประมาณปี 2563 ในช่วงของ ปลายปี 62 ต่อเนื่องต้นปี 63 เรามีปริมาณน้ำฝนใช้การที่อยู่ในเขื่อน ต่างๆ ไม่ถึง 8000 ล้าน ลบ.ม. โดยเฉพาะเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน ล่าสุดกักเก็บน้ำได้เพียง 160.4 ล้าน ลบ.ม. หรือ 17 % เท่านั้น ซึ่งจะะเห็นว่าเรา ไม่สามารถ ที่จะสนับสนุนในเรื่องของการเกษตรได้ ครอบคลุมทุกพื้นที่ เพราะฉะนั้น ที่สำคัญที่สุด ก็คือเรื่องการอุปโภคบริโภค เรื่อง ระบบนิเวศ ถ้าปริมาณน้ำ 7000 ล้าน ลบ.ม. ตามที่คาดการณ์เอาไว้ จะส่งผลให้ ปีหน้า เราคง ไม่สามารถสนับสนุนน้ำให้กับพื้นที่การเกษตรได้ครบทั้งหมด ทั้งพื้นที่ใน ลุ่มน้ำ เจ้าพระยา ทั้งหมด ซึ่ง ก็คง ต้องมา ดูว่า ไหน พื้นที่ไหน ที่มี ความสำคัญ โดยเฉพาะ พวก ไม้ผล ไม้ ยืนต้นที่เรา ต้องต้องสนับสนุนเป็นหลักเพราะว่าใช้เวลาการปลูกยาวนาน

เพราะฉะนั้นแนวทางการบริหารจัดการน้ำในปี้ คือในช่วงฤดูฝนต้องเตรียมการเรื่องการเร่งระบายน้ำในช่วงที่เกิดอุทกภัย และที่สำคัญที่สุดคือเรื่องการกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ ผักตบชวา หรือ ทำนบดิน ต่างๆที่เรากั้นเอาไว้ในช่วงฤดูแล้งอันนี้ต้องเร่งเปิดทางน้ำ แต่ในช่วงปลายฤดูฝน คือช่วงปลายเดือนกันยายนเป็นต้นไป เราต้องมาคำนึงในเรื่องของการเก็บกักน้ำในแหล่งน้ำหรือคลองธรรมชาติต่างๆ เอาไว้เป็นต้นทุนน้ำ โดยเฉพาะฤดูแล้งในปี้หน้า เอาไว้ให้มากที่สุด ทางกรมชลประทานได้เร่งประชาสัมพันธ์ ให้ กับทางจังหวัดแล้วก็ทางผู้นำท้องถิ่นและกลุ่มผู้ใช้น้ำร่วมกันได้สร้างถึงแนวทางในการดำเนินการในปีนี้
///////////////////

แสดงความคิดเห็น