นิทานเรื่องคนแทงหยวกบนม้าไม้ ของชายชรา

มีสุภาษิตชนเผ่าอาข่า บทหนึ่งพูดไว้ ว่าคนแก่ 1 คน ตายจากไป ความรู้ 10 อย่าง หายไป ไม่รู้จริงไหม แต่น่าสนใจมาก  เรารู้จักลุงสนั่น ชายชรา ชาวไทยวนที่เขาพยายามบอกอัตลักษณ์อย่างนั้น ผ่านงานฝีมือที่นับวันจะหาดูได้ยากขึ้นไปทุกที  ชายที่ใช้ศิลปะการแทงหยวกกล้วยภูมิปัญญารับใช้ชุมชนมาตลอดชีวิต  ชายชราที่หาไม้ใผ่ทำม้าไม้เพื่อหวังจะเป็นเครื่องไม้ในการให้พ่อนาคขี่ เพื่อเข้าพิธีอุปสมบทไม่รู้กี่สิบกี่ร้อยคนในหมู่บ้านและพื้นที่ใกล้เคียง  ชายที่มีงานแสดงศิลปะเป็นงานประเพณีในชุมชนตั้งแต่เกิดจนตาย ตลอด หลายปีที่ผ่านมา

ในงานวัฒนธรรม ชายชราที่นั่ง แทงหยวก เงียบๆ อยู่ในบูธของเขา อย่างสงบ ที่บูธมีโชว์ผลงาน การแทงหยวกในรูปแบบ เครื่องประดับ ที่ดูเรียบง่าย มีเพียงสีแดงๆที่ติดกับร่องรอยของการแทงเป็นรูปร่าง วิจิตรงดงาม แน่นอนว่า ประสบการณ์ อันน้อยนิดของผม นึกไม่ออกว่า ศิลปะการแทงหยวกเหล่านี้ จะอยู่ในงานประเภทไหน แต่ที่พอนึกออก ก็คงจะเป็นงานตกแต่ง ที่มี ดอกไม้ มีใบไม้ ที่ต้องการความประณีตสูง แน่ๆ มีโอกาสเข้าไปนั่งคุย กับชายชรา เงียบๆในวันหนึ่ง

สนั่น เอี่ยมสาย คือชื่ออย่างเป็นาทางการ แกเป็นชาวไทยวน ย้ายมาจากราชบุรี มาปักหลักทำนา อยู่ที่ ตำบลสมอแข ตั้งแต่รุ่นพ่อ วันนี้ลุงสนั่น เอี่ยมสาย วัย 75 ปี ขณะกำลังทำชิ้นงานเล็กๆ ในโรงไม้ ที่บ้านอันแสนร่มรื่น และเต็มไปด้วยชิ้นงานมากมาย ลุงสนั่นเล่าว่า ตามพ่อไป แทงหยวกประดับประดาพิธีต่างๆ โดยเฉพาะงานคนตาย ตั้งแต่อายุ 17    พร้อมๆกับ เรียนรู้การทำม้าไม้ เพื่อทำพิธีบวชนาคให้พ่อนาค ได้นั่งแห่ ไปทำ การอุปสมบท ที่วัด ม้าไม้เป็นตัวแทน ม้ากัณฐกะที่พา เจ้าชายสิทธัตถะ ออกบวช หลังจากเบื่อหน่ายในชีวิตฆราวาส ไม่เพียงเท่านั้น ยังมี ชิ้นงาน ที่เป็นกระดาษตัด เป็นชั้นๆ ทำจากกระดาษสา ไทยวน เรียกรังแตน  คนไทยเรียกว่า พวงมโหตรม  ใช้ตกแต่ง ในงานพิธีกรรม งานรื่นเริงต่างๆ ที่แสนสวยงาม เป็นที่ชื่นใจสำหรับผู้พบเห็น

ทุกงานที่ลุงสนั่นทำลงไป เป็นการช่วยงานบุญทั้งสิ้น ตลอดชีวิตแกบอกตัวเองว่าเป็นแค่เพียงชาวไร่ชาวนา ที่ทำมาหากินตามประสา แต่เวลาที่เกิดความทุกข์ความสุขของผู้ในประเพณีต่าง ๆ งานศิลปะและการตกแต่งที่สวยงาม ล้วนเกิดจากฝีมือแกมาตลอดช่วงชีวิต และทำหน้าที่ของมันมาตลอด  แน่นอนว่าผู้คนได้เห็นได้รับนรู้  ส่วนลุงสนั่นมันคือเวลาของการแสดงงานที่มีผู้คนมาร่วมกันมากมาย    แกบอกรับเงินไม่ได้ เพราะเงินเป็นได้แค่ค่าจ้าง ในการให้ ในวันที่มีงานศพ การแทงหยวกประดับประดาศพ ช่วยงาน มีความหมายมากกว่า  เป็นเหมือน ความรักและความปรารถนาดี ความเห็นอกเห็นใจ ที่เพื่อนร่วมมนุษย์ร่วมเผ่าพันธุ์ พึงมีต่อกัน แม้จะทำงานมาล่วงเลย 50 ปี รับตำแหน่งปราชญ์ชุมชนปราชญ์ชาวบ้าน ศิลปิน ทางวัฒนธรรม มามากมาย แต่ลุงสนั่นก็บอกตัวเองว่า เป็นแค่เพียงชาวนา

ชายคนนี้มีความสุขทุกครั้ง ที่ได้เล่าเรื่องให้เด็กๆ จากศูนย์ครูจากเด็กเล็กที่อบต.สมอแขมักพามาฟังลุงสนั่นเล่านิทานผ่าน งานศิลปะทั้งหลาย  แกหวังเพียงว่า ชิ้นงานเหล่านี้ จะซึมซับอยู่ในหัวใจของพวกเขา และไม่ใช่แค่เพียงเด็ก แม้แต่องค์กรท้องถิ่นทั้งหลาย เขาก็ยังอยากที่จะ ให้องค์กรเหล่านี้ ส่งช่างมาเรียนรู้ ศิลปะ วิทยาการ พื้นบ้านที่แกรู้เพราะว่า ในไม่ช้า ลุงสนั่นก็จะจากไป เหมือนกับผู้คนทั้งหลาย ความน่าเสียดายในตัวแก คืออยากให้เป็นมรดก ตกทอดสืบไป ไม่ใช่หายตายจากไปพร้อมตัวของแก ในวันที่โลกเปลี่ยนแปลงไป ไม่มีใครสนใจหยวกกล้วย ที่ถูกแทงประดับประดาให้สวยงามในงานศพ อีกต่อไปแล้ว มักใช้งาน ดอกไม้ ที่มีราคาแพง หลายพัน หลายหมื่นมากกว่า ศิลปะการแทงหยวก เป็นการประดับประดาศพ ในลักษณะ การเผาในที่โล่ง ในอดีตเป็นการบังตา แก่ผู้ พบเห็น เพราะเชื่อกันว่าหยวกจะไหม้ช้ากว่าศพ เพราะตัวมันเต็มไปด้วยน้ำ  เรื่องราวของชายผู้เป็นศูนย์รวมของศิลปะ ของคนตำบลสมอแข บอกเราว่า สิ่งที่มีค่าในชั้นเชิงทางศิลปะ ที่กำลังจะหายไปนั้น ไม่ได้เกิดจาก ตัวครูที่อยากสอน แต่เกิดจากไม่มีความต้องการที่อยากจะเรียน

อาจมองเป็นของเก่าแก่ล้าสมัย แต่อย่างน้อย ก็จงได้รับรู้ไว้ว่า ศิลปะเหล่านี้ เชื่อมโยงจิตใจผู้คนเสมอมาในชุมชน ให้เห็นความงดงามที่มาจากความมุ่งมั่นตั้งใจ ภูมิปัญญาที่ต้องใช้เวลาในการฝึกฝนเรียนรู้ และซ่อนนัยยะทั้งทางประเพณี วัฒนธรรม สะท้อนที่มาของชีวิต ชาติพันธุ์     ลุงสนั่นชายที่หยิบหยวกมามาเล่านิทานให้เด็ก ๆ ฟังอยู่เสมอ  คนที่สร้างม้าไม้น้อยใหญ่ ให้พ่อนาคเป็นพุทธบูชา และสารพัดงานฝีมือที่ออกมาจากจิตวิญญาณและคความรัก ตราบที่ผู้คนยังมองเห็นคุณค่าและความหมายนิทานของชายชราคนนี้

///

แสดงความคิดเห็น